27 มกราคม 2554

การเสียดินแดนของไทย ๑๔ ครั้ง (ลูกหลานควรจดจำ)





ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย




ครั้งที่ ๑ เกาะหมาก(ปีนัง) เสียให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๓๒๙ พื้นที่ ๓๗๕ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ เกิด จาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป



ครั้งที่ ๒ มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ พื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ ๑ ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป



ครั้งที่ ๓ บันทายมาศ(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๒




ครั้งที่ ๔ แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ พื้นที่ ๖๒,๐๐๐ ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ ๓ แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ ๒๐ ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง




ครั้งที่ ๕ รัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นการสูญเสียที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่...งจากครั้งก่อนไม่ถึง ๑ ปี




ครั้งที่ ๖ สิบสิงปันนา ให้กับจีนเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๓๙๗ พื้นที่ ๙๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ ๑ ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ ๒ แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป



ครั้งที่ ๗ เขมรและเกาะ ๖ เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ พื้นที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๔ ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๓๘ โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.๕ ที่ไปประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป


ครั้งที่ ๘ สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัดกำลังไปปราบ ๒ กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเมืองเชียงค้อ



ครั้งที่ ๙ ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ ๕ ในห้วงปี ๒๔๓๓ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง





ครั้งที่ ๑๐ ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ พื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย ๑ ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง ๑๕ ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.๕ เป็นค่าปรับ ร.๕ ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้




ครั้งที่ ๑๑ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์, ,มโนไพร) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย



ครั้งที่ ๑๒ มลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ ๒๔๔๙ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย




ครั้งที่ ๑๓ รัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย



ครั้งที่ ๑๔ เขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ พื้นที่ ๒ ตร.กม. ในสมัย ร.๙ ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจากหลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพจะเสด็จเขาพระวิหาร จึงไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3



พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป



18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง



24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง



28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติ การดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น



8 กรกฎาคม พ.ศ 2551 องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก

ข้อความจาก zone-it.com/  ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

26 มกราคม 2554

คณะครูดูงาน

อิมแพคเมืองทองธานี






ประวัติความเป็นมางานศิลปหัตถกรรมนักเรียน




งานศิลปหัตถกรรมได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิงในสมัยนั้น ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่างๆ เพื่อจะกันการที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมในการเป็นเสมียนหรือ เข้าทำราชการให้น้อยลง

การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมีการจัดต่อเนื่องกันตลอดมา มีหยุดเว้นช่วงบ้าง เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติก็ตาม เปลี่ยนชื่องานไปก็หลายครั้งโดยทั่วไปนับว่าเป็นงานที่มีชื่อเสียงมาก มาแต่ในอดีต นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 87 ปี ซึ่งจะสรุปความเป็นมาของการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน พอสังเขป ดังนี้

ครั้งที่ 1 งานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2455 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปียมาลากุล) เสนาบดี กระทรวงธรรมการเป็นผู้ริเริ่ม (ขณะที่ยังเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เหตุที่จัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนก็เพื่อแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิง ในสมัยนั้น เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปะการหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนรายได้ ในการเลี้ยงชีพ

ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 ที่สวนมิสกวัน พร้อมกับงานนักขัตฤกษ์กราบนมัสการ พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ปรากฏว่าเป็นประโยชน์ในทางการแนะนำชักจูงนักเรียน ให้มีนิสัยรักการศิลปหัตถกรรมมากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เห็นงานฝีมือของคนไทย สามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบและเป็นเครื่องปลูกฝังให้นิยมสินค้าไทย ในงานครั้งนี้ได้มีการประกวดผลผลิตหัตถกรรมของประชาชนโดยมีรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดจึงสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้แข่งขันในงานนี้

ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 8 มกราคม พ.ศ.2457 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน งานครั้งนี้เปิดโอกาสให้มลฑลต่างๆ ส่งของมาแสดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำขายเป็นสินค้าเป็นของที่ทำมาจากเรือนจำบ้าง การแสดงคราวนี้จึงเป็นการแสดงศิลปหัตถกรรมและพณิชยกรรม และน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของงานสินค้ากรมราชทัณฑ์ ก็ว่าได้

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 4 ก็ได้จัดเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี จนถึง ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2466 หลังจากนั้นได้ว่างเว้นการจัดงานเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งในช่วงนั้นบ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่ปกติ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต (พ.ศ.2468) และเกิดเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์

ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีการ “จัดงานศิลปหัตถกรรมสหพันธ์โรงเรียนราษฎร์” โดยการนำของนายเพี้ยน สุวรรณมาลิก เจ้าของโรงเรียนนันทนศึกษา ได้รวมกลุ่มโรงเรียนราษฎร์ จัดขึ้นที่สวนอัมพร เพื่อฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมที่ว่างเว้นขึ้นมาใหม่ (ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 6 เมษายน พ.ศ. 2491) โดยมีการออกร้านขายอาหารและการฝีมือของนักเรียน มีการแสดงตำนานทางประวัติศาสตร์การแสดงพื้นเมือง การบริหาร และฉายภาพยนตร์ มีการประกวดลีลาส และตลาดนัดด้วย

ครั้งที่ 13 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนขึ้นใหม่ โดยจัดในระหว่างวันที่ 8–12 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย งานครั้งนี้ถึงจะจัดขึ้นอย่างกระทันหัน แต่ก็มีผลงานศิลปหัตถกรรมของนักเรียนส่งมาแสดงมากมาย ซึ่งเป็นการยืนยันว่านักเรียนให้ความสนใจในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งมีประชาชนสนใจเข้าชมงานมากมาย

ครั้งที่ 14 จัดงานระหว่างวันที่ 2 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และขยายบริเวณการจัดงานไปถึงโรงเรียนเสาวภา มีห้องแสดงศิลปหัตถกรรมของนักเรียนในภาคต่างๆ ส่งครู อาจารย์ และนักเรียนจากหัวเมืองเข้ามาจัดแสดงจัดการละเล่นพื้นเมือง และออกร้านจำหน่ายอาหาร มีการประกวดเรื่องศิลปะหัตถกรมมของนักเรียนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมวิชาการฝีมือตามหลักสูตรการจัด ในครั้งนี้มุ่งส่งเสริมการฝีมือเพื่อเป็นอาชีพแก่นักเรียน ทั้งยังเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจผู้ใหญ่ให้คิดบำรุงเด็ก ให้คิดประดิษฐ์งานอีกด้วย

ครั้งที่ 15 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2–6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 บริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง งานครั้งนี้มี ม.ล.ปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้นเป็นประธานกรรมการในการจัดงานครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดวางแนวส่งเสริมในทางหัตถศึกษาให้มากขึ้น วิธีการจึงเน้นไปในทางปฎิบัติโดยการสาธิตให้ประชาชนผู้เข้าชมในงานได้เห็นจริง

ครั้งที่ 16 พ.ศ.2495 จัดที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในการจัดงานครั้งนี้มีการจำหน่ายบัตรผ่านประตู จึงทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดงาน และการแสดงศิลปหัตถกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานเย็บปักถักร้อย และของใช้ทำด้วยไม้ มีกาประกวดสินค้าของนักเรียนด้วย

ครั้งที่ 17 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2–6 ธันวาคม พ.ศ. 2496 จัดที่บริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และโรงเรียนเพาะช่าง เช่นเดิม ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดงานในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2496

ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2497 จัดที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้าน การแสดง การประกวดผลงานของนักเรียนดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา อาทิ การแสดงกลางแจ้ง การประกวดเขียนภาพด้วยพู่กันของนักเรียนประถมศึกษา เป็นต้น

ครั้งที่ 19 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง การจัดงานแบ่งกิจกรรมออกเป็นแผนกต่างๆ 21 แผนก เช่น แผนกศิลปหัตถกรรม แผนกวิชาการ แผนกแสดงงานประดิษฐ์ ฯลฯ เป็นต้น

ครั้งที่ 20 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1–7 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ณ บริเวณเดิม กิจกรรมต่างๆ ภายในงานคล้ายปีที่ผ่านมาที่พิเศษออกไปก็คือ มีการจำหน่ายหนังสือที่ระลึกของการจัดงาน ในราคาเล่ม ละ3 บาท ทั้งยังแจกจ่ายไปยังสถานศึกษาและส่วนราชการทั่วราชอาณาจักร

ครั้งที่ 21 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และเกิด การปฎิวัติเงียบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 จึงไม่สามารถหาหลักฐานได้แน่ชัดว่าการจัดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 21 นั้นจัดขึ้นในช่วงใด และปี พ.ศ.ใด แต่คาดว่าน่าจะเป็นปี พ.ศ. 2500

ครั้งที่ 22 มีการจัดงานขึ้นบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502

ครั้งที่ 23 ปี พ.ศ. 2503 ได้ย้ายการจัดงานไปในบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีคนไปเที่ยวชมงานศิลปหัตถกรรมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมากขึ้น ทำให้คับแคบแออัดไม่สะดวกแก่ผู้เข้าชม

ครั้งที่ 24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1–7 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่บริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และวิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ในการจัดงานมีกิจกรรมต่างๆ เช่นทุกปี ที่พิเศษ คือ การนำนักเรียนไทยมุสลิมและนักศึกษาจากสถานศึกษาที่สำคัญๆ เข้ามาร่วมงาน โดยการมาออกร้าน และสาธิตการประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีการประกวดและการประลองเรือ เครื่องบิน และเครื่องร่อนขนาดเล็กที่บังคับวิทยุ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมช่างอากาศ

ครั้งที่ 25 พ.ศ.2504 จัดที่บริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน ในปีนี้มีริ้วขบวนแห่ รถคำขวัญและขบวนช้างทำให้งานคึกครื้นกว่าทุกปี นอกจากจะมีกิจกรรมและศิลปหัตถกรรมอย่างทุกปีแล้ว ยังเพิ่มกิจกรรมอาสาสมัครอนุกาชาดรับดูแลเด็กเล็กๆ ที่เข้าไปชมงานกับผู้ปกครอง โดยมีกิจกรรมเล่านิทานหุ่นกระบอก และเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น

ครั้งที่ 26 จัดในเดือนธันวาคม พ.ศ.2506 จัดที่บริเวณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน และในขณะที่เสด็จชมห้องแสดงต่างๆ ได้มีกระแสพระราชดำรัสกับ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ร่างระเบียบฯ ว่าด้วยรางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียน ดังนั้นจึงมีประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยรางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียน พ.ศ.2507 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507

ครั้งที่ 27 จัดขึ้นระห่างวันที่ 1 – 7 ธันวาคม พ.ศ.2507 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานในปีนี้ มีการพระราชทานรางวัลแก่นักเรียน และโรงเรียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมหลายแห่ง เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนพณิชยการพระนคร และการจัดงานครั้งนี้ มีรายการพิเศษเพิ่มจากปีก่อนคือ การแสดงการจัดโรงเรียนประถมศึกษาและการสอน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้โรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้ง 12 ภาคการศึกษา มาสาธิตงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ด้วย

ครั้งที่ 28 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 ธันวาคม 2508 ที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน แบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 ประเภท คือ การแสดงศิลปกรรม การแสดงฝ่ายวิชาการ การแสดงกลางแจ้ง การแสดงของลูกเสือและยุวกาชาด การประกวดผลผลิตทางการเกษตรและการประกวดงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการเข้ารับพระราชทานรางวัลพระราชทานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการฯ พ.ศ. 2507 ด้วย

ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2509 ได้ย้ายสถานที่จัดงานไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ที่บริเวณโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โดยเพิ่มกิจกรรมพิเศษ คือ การนำชมโบราณสถาน การแสดงกิจกรรมช่างต่อเรือพระนครศรีอยุธยา การทัศนศึกษาและการแข่งขันตอบปัญหาต่างๆ

ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2510 จัดที่บริเวณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน และพระราชทานรางวัลแก่โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนดีเด่น แบ่งการแสดงผลงาน ออกเป็นกลุ่มภาคการศึกษา 12 ภาคและกลุ่มโรงเรียนในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กรมอาชีวศึกษา กรมสามัญศึกษา กรมศิลปากร

ครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 1 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้ย้ายมาจัดที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงาน ในการจัดงานครั้งนี้มีกิจกรรมต่างๆ คือ การแสดงและจำหน่ายสิ่งของการฝีมือของนักเรียน โครงการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ การประลอง การแสดงกิจกรรมของยุวกสิกร การละเล่นพื้นเมือง และตำนานในสนามกลางแจ้ง การแสดงของลูกเสือและอนุกาชาด การประกวดร้องเพลงและดนตรี การแสดงทางการเกษตร

ครั้งที่ 32 จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 จัดที่ บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยใช้ชื่องานว่า “งานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียน” เพราะได้รวมการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปีเข้ามาด้วย จุดเน้นของงานครั้งนี้ก็คือ การสอนวิชาปฏิบัติ และการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ในงานนี้ยังได้ยืมหินที่ มนุษย์อวกาศ ของสหรัฐอเมริกาเก็บมาจากดวงจันทร์มาร่วมแสดงในงาน และมีนักเรียนชาวต่างชาติ จากโรงเรียนนานาชาติเข้าร่วมและแข่งขันด้วย

ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2513 ใช้ชื่อการจัดงานว่า “งานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียน” โดยจัดในระหว่างวันที่ 25–29 ธันวาคม พ.ศ. 2513 บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ การจัดครั้งนี้เป็นการฉลองปีการศึกษาระหว่างชาติมีจุดเน้นของงานว่า “การศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ” แบ่งงานออกเป็นเขตต่างๆ เช่น เขตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เขตคหกรรม เขตเกษตรกรรมและเขตพณิชยกรรม

ครั้งที่ 34 และ ครั้งที่ 35 จัดพร้อมกับงานแข่งขันฝีมือช่าง และนิทรรศการการอาชีพแห่งชาติของคณะกรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติและยังมีการใช้ชื่องานเหมือน ครั้งที่ 33

ครั้งที่ 36 ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดเตรียมงานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียนเหมือนเช่นเคย แต่เนื่องจากภาวะของประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการจัดงานอันเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงงดการจัดงานในปีนั้นเสีย

ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2525 เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศ เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การเดินขบวนประท้วง และมีการเปลี่ยนรัฐบาลกันหลายคณะ รวมทั้ง ภัยคุกคามจากสงครามอินโดจีน จึงหยุดการจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรมไประยะหนึ่งรวม 10 ปี ในปี พ.ศ. 2526 – พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อฟื้นการจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรมขึ้นมาอีก โดยจัดร่วมกับงานวันเด็กแห่งชาติ จึงไม่นับว่าเป็นการจัดครั้งที่เท่าใด

ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2528 ได้จัดงานศิลปหัตถกรรมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ที่สวนอัมพร การจัดงานครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว้างขวางมากกว่าเดิม เพราะกรมอาชีวศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และใช้ชื่องานในการจัดว่า “งานศิลปหัตถกรรมและอาชีวศึกษา 28” โดยเน้นสาระของงานว่า “การศึกษาเพื่ออาชีพ”

ครั้งที่ 38 จัดขึ้นบริเวณสวนอัมพร ระหว่างวันที่ 11 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้ผู้ปกครองและประชาชนได้เข้าใจ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ครั้งที่ 39 จัดระหว่างวันที่ 10 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2529 บริเวณสวนอัมพร คำขวัญของการจัดงานครั้งนี้คือ “การศึกษาเพื่อการมีงานทำ”

ครั้งที่ 40 จัดระหว่างวันที่ 10 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่บริเวณสวนอัมพร ซึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีคำขวัญของงานว่า “การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ”

ครั้งที่ 41 จัดระหว่างวันที่ 10 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 บริเวณสวนอัมพรและลาน พระบรมรูปทรงม้า โยมีคำขวัญของการจัดงานว่า “การศึกษาเพื่อพลเมืองดี” และเนื่องจากปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2532 เป็นปีศิลปหัตถกรรมไทย ดังนั้น จึงมีการพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ ให้แก่นักเรียนที่เคยชนะการประกวดศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศด้วย

ครั้งที่ 42 จัดระหว่างวันที่ 23 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ มีคำขวัญของงานว่า “การศึกษาเพื่อการเป็นนิกส์” งานนี้มีสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างมาแสดง เช่น เครื่องทอเสื่อ การรับสัญญาณดาวเทียม และมีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่

ครั้งที่ 43 จัดเมื่อ พ.ศ. 2533 ที่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ คำขวัญของงานคือ “การศึกษายุคไฮเทค”

ครั้งที่ 44 จัดเมื่อปีการศึกษา 2534 เป็นการจัดงานครั้งพิเศษ เนื่องในปีเฉลิมฉลอง 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ เริ่มจัดงานกระจายไปทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้เยาวชนในส่วนภูมิภาค ได้มีโอกาสเข้าชมงานอย่างกว้างขวาง โดยใช้ชื่องานว่า “งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ฉลอง 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ” โดยให้ทุกกรมในกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมกันจัดงาน มีการจัดงานเป็น 5 ภูมิภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ เขตการศึกษา 7 ระหว่างวันที่ 11–13 ธันวาคม พ.ศ. 2534

2. ภาคกลาง จัดที่กรีฑาสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน พ.ศ. 2535

3. ภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดจันทบุรี เขตการศึกษา 12 ระหว่างวันที่ 10–12 มกราคม พ.ศ. 2535

4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดนครราชสีมา เขตการศึกษา 11 ระหว่างวันที่ 28–30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

5. ภาคใต้ จัดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เขตการศึกษา 3 ระหว่างวันที่ 13–15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา ได้แบ่งการจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค ใช้ชื่อ “ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน” เช่นเดิม

ครั้งที่ 45 จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2535 ใน 4 ภูมิภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดนครสวรรค์ (เขตการศึกษา 7 และ 8) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เขตการศึกษา 1,5,6 และ 12) ระหว่างวันที่ 21 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2535

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดอุบลราชธานี (เขตการศึกษา 9,10 และ 11) ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535

4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัด (เขตการศึกษา 2,3 และ 4) ระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536

ครั้งที่ 46 จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2536 ใน 4 ภูมิภาค เช่นเดียวกับ ครั้งที่ 45 ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงราย เขตการศึกษา 8 ระหว่างวันที่ 27 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดนครปฐม เขตการศึกษา 1 ระหว่างวันที่ 16 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดอุดรธานี เขตการศึกษา 9 ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536

4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดพัทลุง เขตการศึกษา 3 ระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537

ครั้งที่ 47 ประจำปีการศึกษา 2537 มีการจัดงานใน 4 ภูมิภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดสุโขทัย เขตการศึกษา 7 ระหว่างวันที่ 9–11 มกราคม พ.ศ. 2538

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสุพรรณบุรี เขตการศึกษา 5 ระหว่างวันที่ 9–11

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดสุรินทร์ เขตการศึกษา 11 ระหว่าง วันที่ 7–9

ธันวาคม พ.ศ. 2537

4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดภูเก็ต เขตการศึกษา 4 ระหว่างวันที่ 14–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ครั้งที่ 48 จัดขั้นในปีการศึกษา 2538 แบ่งการจัดงานออกเป็น 4 ภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง เขตการศึกษา 8 ระหว่างวันที่ 14–16 มกราคม พ.ศ. 2539

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดปราจีนบุรี เขตการศึกษา 12 ระหว่างวันที่ 1–3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดขอนแก่น เขตการศึกษา 9 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มกราคม พ.ศ. 2539

4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดยะลา เขตการศึกษา 2 ระหว่างวันที่ 11–13 มกราคม พ.ศ. 2539

ครั้งที่ 49 จัดเมื่อปีการศึกษา 2539 ได้เพิ่มการจัดงานในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนร่วมกับงานแสดงการปฏิรูปการศึกษา ที่บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน พ.ศ. 2540 และจัดงานตามภาคต่างๆ ทั้ง 4 ภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ จัดที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเขตการศึกษา 7 ระหว่าง วันที่ 8–10 ธันวาคม พ.ศ. 2539

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดปทุมธานี เขตการศึกษา 1 ระหว่างวันที่ 6–8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดนครพนม เขตการศึกษา 10 ระหว่างวันที่ 22–24 มกราคม พ.ศ. 2540

4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตการศึกษา 3 ระหว่างวันที่ 11–13 มกราคม พ.ศ. 2540

ครั้งที่ 50 จัดเมื่อปีการศึกษา 2540 แบ่งการจัดงานออกเป็น 4 ภูมิภาค ดังนี้

1. ภาคเหนือ (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่สนามกีฬาจังหวัดแพร่ เขตการศึกษา 8 ระหว่าง วันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดลพบุรี เขตการศึกษา 6 ระหว่างวันที่ 23–25 มกราคม พ.ศ. 2541

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดบุรีรัมย์ เขตการศึกษา 11 ระหว่าง วันที่ 26–28 มกราคม พ.ศ. 2541

4. ภาคใต้ (เขตการศึกษา 2,3,4) จัดที่จังหวัดระนอง เขตการศึกษา 4 ระหว่างวันที่ 8–10 มกราคม พ.ศ. 2541

ครั้งที่ 51 จัดเมื่อปีการศึกษา 2541 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ

1. ภาคเหนือ (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เขตการศึกษา 7 ระหว่างวันที่ 3 – 5กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดเพชรบุรี เขตการศึกษา 5 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขตการศึกษา 10 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2542

4. ภาคใต้ (เขตการศึกษา 2,3,4) จัดที่จังหวัดสตูล เขตการศึกษา 2 ระหว่างวันที่ 21 – 23 มกราคม พ.ศ. 2542

ครั้งที่ 52 จัดเมื่อปีการศึกษา 2542 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ

1. ภาคใต้ (เขตการศึกษา 2,3,4) จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 12 – 14 มกราคม พ.ศ. 2543

2. ภาคเหนือ (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 12 – 14 มกราคม พ.ศ. 2543

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 26 – 28 มกราคม พ.ศ. 2543

4. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม พ.ศ. 2543

ครั้งที่ 53 จัดเมื่อปีการศึกษา 2543 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภาค คือ

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 4-9 มกราคม พ.ศ. 2544

3. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 18 – 20 มกราคม พ.ศ. 2544

4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2544

ครั้งที่ 54 จัดขึ้นในปี พ.ศ.2544 ได้กำหนดจัดงาน 4 ภูมิภาค คือ

1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม พ.ศ. 2545

2. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม พ.ศ. 2545

3. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 22 – 24 มกราคม พ.ศ. 2545

4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม พ.ศ. 2545

ครั้งที่ 55 จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2545 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ

1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม พ.ศ. 2546

2. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12 – 14 มกราคม พ.ศ. 2546

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม พ.ศ. 2546

4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

ครั้งที่ 56 จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2547 มีการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนทั้ง 4 ภูมิภาค แต่หลังจากนั้น งานศิลปหัตถกรรมก็ได้หยุดชะงักไป หลังจากที่มีการปฏิรูปการศึกษาและมีการยุบรวม หลายหน่วยงานเข้าด้วยกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ

ในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งมอบการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนแก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงาน

ครั้งที่ 57 จัดเมื่อปีการศึกษา 2550 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ได้เริ่มฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ

1. ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2. ภาคกลางและภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ณ จังหวัดชลบุรี

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดขอนแก่น

4. ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดพิษณุโลก

ครั้งที่ 58 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สนองเจตนารมณ์ในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอน ในขณะเดียวกัน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2551 ขึ้น โดยได้กำหนดการจัดงานออกเป็น 4 ภูมิภาค


ครั้งที่ 59 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2552 ขึ้น โดยได้กำหนดการจัดงานออกเป็น 4 ภูมิภาค
และในครั้งนี้เป็น
ครั้งที่  60  แล้ว  (26-28 มกราคม  2554 ที่ เมืองทองธานี)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2552 ขึ้น โดยได้กำหนดการจัดงานออกเป็น 4 ภูมิภาค




24 มกราคม 2554

แนวข้อสอบชุดที่ ๕

แนวข้อสอบ


มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 5

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)



คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

1. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

1) ทุกศาสนาต่างมุ่งให้คนประพฤติสิ่งดีงาม

2) ทุกศาสนามีจุดหมายปลายทางแตกต่างกัน

3) ผู้นับถือศาสนาต่างกันไม่ควรทำงานร่วมกัน

4) ทุกศาสนามีศาสดาองค์เดียวกัน

2. วิธีที่จะเข้าถึงศาสนาต้องทำอย่างไร

1) ปฏิบัติธรรม 2) ฝึกวิปัสสนา

3) ออกบวช 4) ปฏิบัติทั้ง 3 ประการ

3. ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ประพฤติตามคำสั่งสอนของศาสนา สังคมนั้น จะเกิดอะไร

1) การไม่มีศาสนา

2) ศาสนาเสื่อมโทรม

3) ไม่เกิดอะไรดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

4) ความทุกข์ยาก เดือดร้อน สับสนวุ่นวาย

4. บุคคลเช่นใดที่ถือว่าเป็นผู้มีศาสนา

1) ผู้ที่มีการศึกษาดี

2) ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง

3) ผู้ที่พูดเรื่องธรรมะได้เก่ง

4) ผู้ที่สามารถควบคุมจิตใจตนเองได้



5. เพราะเหตุใดผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางคำสั่งสอนของ ศาสนา สังคมนั้นจึงมีความสุข

1) ศาสนาเป็นสิ่งที่ดี

2) ศาสนามีกฎและข้อห้ามให้ไว้ปฏิบัติ

3) ศาสนายึดเหนี่ยวคนให้ทำแต่ความดีละเว้นความชั่ว

4) ศาสนาเป็นแนวทางให้คนประพฤติตามสภาพของสังคม

6. “สังคมใดมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมนั้นก็จะประสบแต่ความสุข ความเจริญ” จากข้อความดังกล่าวแสดงว่า

1) ศาสนาทำให้สังคมเป็นสุข

2) ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

3) ผู้ที่นับถือศาสนาจะมีความสุข

4) ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

7. วรรณคดีเรื่องใดที่ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา

1) พระอภัยมณี 2) สามัคคีเภทคำฉันท์

3) ไตรภูมิพระร่วง 4) มหาชาติคำหลวง

8. บุคคลในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

1) ใบตาล กล่าวว่าวัฒนธรรมไทยมีบ่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่

2) ใบตอง กล่าวว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้นำภาษาบาลีเข้ามาใน ประเทศไทย

3) ใบตาด กล่าวว่าวัฒนธรรมด้านภาษาและศิลปะเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพล มาจากพระพุทธศาสนา

4) ใบเตย กล่าวว่าวรรณกรรมไทยทุกเรื่องมีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา

9. ข้อใดไม่สัมพันธ์กับคุณประโยชน์ของความอดทนตามหลักพระพุทธศาสนา

1) ความอดทนทำให้ร่ำรวย

2) ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข

3) ความอดทนห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน

4) ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์



10. แบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานเรียกว่าอะไร

1) ประเพณี 2) ศิลปะ

3) วัฒนธรรม 4) อารยธรรม

11. การไปหาพระสงฆ์ที่วัด เราจำเป็นจะต้องสำรวมมรรยาทให้มากทั้งนี้เป็นเพราะ

อะไร

1) เป็นการแสดงความเคารพ 2) ป้องกันผู้อื่นตำหนิ

3) ช่วยกันรักษาธรรมเนียมไทย 4) จะได้เป็นสิริมงคล

12. เมื่อเราไปหาพระสงฆ์ที่วัด ขั้นตอนแรกสุดที่เราต้องทำคืออะไร

1) ทำความเคารพ 2) ซักถามทุกข์สุข

3) แจ้งกิจธุระ 4) ถวายสิ่งของ

13. “น้อมกายเมื่อพบเคารพคุณครูผู้ใหญ่ มรรยาทอ่อนหวานแบบไทยซึ้งใจน่ารัก หนักหนา” ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนไทย ในด้านใด

1) จิตใจ 2) ประเพณี

3) ศิลปะ 4) ภาษา

14. ข้อใดไม่ใช่อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อศิลปะของไทย

1) ปราสาทหินพนมรุ้ง 2) เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

3) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย 4) ภาพพุทธประวัติ

15. ข้อใดไม่จัดเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1) ถวายสังฆทาน 2) ตักบาตรเทโว

3) ถวายเทียนพรรษา 4) เวียนเทียน

16. ข้อใดเป็นมรรยาทที่ชาวพุทธพึงสำรวมให้มากที่สุดขณะไปวัด

1) รักษาความสะอาด 2) ไม่พูดตลกคึกคะนอง

3) มีสิ่งของไปถวายพระ 4) แต่งกายให้สวยงาม





17. เหตุผลที่สำคัญของชาวพุทธที่พึงรักษามรรยาทขณะไปวัดเพราะอะไร

1) ทำให้เกิดความเลื่อมใส 2) จะได้เป็นแบบอย่างที่ดี

3) แสดงออกถึงความเคารพ 4) เหตุผลถูกต้องทั้ง 3 ข้อ

18. การกระทำในข้อใดเน้นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติขณะไปวัด

1) สวมกางเกงขาสั้น ใส่รองเท้าแตะ

2) ปรึกษาปัญหาเรื่องงานในเขตวัด

3) นำเด็กเล็กไปร่วมทำบุญที่วัดด้วย

4) ถอดรองเท้าเดินในเขตพระอุโบสถ

19. วัดถือเป็นพุทธสถานอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นชาวพุทธจึงควรประพฤติสิ่งใด ขณะไปวัด

1) สำรวมกาย วาจา ใจ 2) บริจาคทรัพย์บำรุงวัด

3) ไม่ทำให้วัดเสื่อมเสีย 4) สนทนาเรื่องของวัด

20. เหตุใดเราจึงควรนัดหมายพระสงฆ์ไว้ล่วงหน้าก่อนที่เราจะไปพบ

1) เพื่อให้ท่านได้เตรียมตัว 2) ท่านจะได้มีเวลาให้เรา

3) เราไม่ต้องเสียเวลาคอย 4) จะได้ไม่ผิดพระวินัย

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

21. ทุกข้อเป็นการทำหน้าที่ของชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ ยกเว้นข้อใด

1) มาลินีเสียภาษีอากรให้กับรัฐทุกปี

2) กิตติขับรถโดยรักษากฎจราจรทุกครั้ง

3) นันทาไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งไม่ได้ขาด

4) มนต์ชัยขนยาเสพติดเพื่อนำเงินไปรักษาแม่

22. ข้อใดคือการคุ้มครองตนเองตามหลักสิทธิมนุษยชน

1) นักสิทธิมนุษยชนเข้าช่วยเหลือเหยื่อค้ากาม

2) มดดำยอมให้ตำรวจเข้าค้นบ้านของตนเองโดยไม่มีหมายค้น

3) อำนาจเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้เพื่อนๆ ที่โรงเรียน

4) แม่พาลูกของตนเองเข้าร้องเรียนกับมูลนิธิปวีณาหลังถูกพ่อเลี้ยงทารุณกรรม



23. ที่กล่าวว่า “กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปและตลอดไป” หมายความ ว่าอย่างไร

1) บังคับใช้ได้เฉพาะตำรวจและมีผลบังคับใช้ตลอดไป

2) บังคับใช้ได้กับคนทั่วไปและมีผลบังคับใช้ตลอดไป

3) บังคับใช้ได้เฉพาะตำรวจและมีผลบังคับใช้เฉพาะเวลาคุมขัง

4) บังคับใช้เฉพาะผู้ที่กระทำความผิดและมีผลบังคับใช้ในบางเวลา

24. ข้อใดไม่เข้าพวก

1) กฎหมายปกครอง 2) กฎหมายอาญา

3) กฎหมายรัฐธรรมนูญ 4) กฎหมายแพ่ง

25. กฎหมายฉบับใดตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

1) พระราชบัญญัติ 2) พระราชกำหนด

3) พระราชกฤษฎีกา 4) กฎกระทรวง

26. นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เมื่ออายุครบ 15 ปี โดยไม่ต้องมีผู้แทน โดยชอบธรรม

1) การโอนทรัพย์สิน 2) การทำพินัยกรรม

3) การทำสัญญาเงินกู้ 4) การจดทะเบียนสมรส

27. ข้อใดมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

1) นายทรัพย์ จดทะเบียนสมรสกับนางสาวสิน ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริต

2) นายดอม อายุ 21 ปี ตกลงหมั้นกับนางสาวอ้อย อายุ 21 ปี โดยพ่อแม่

ของทั้งสองฝ่ายไม่ให้ความยินยอม

3) นายเต่า อายุ 18 ปี ตกลงหมั้นกับนางสาวติ๋ม อายุ 16 ปี โดยพ่อแม่ทั้ง

สองฝ่ายให้ความยินยอม

4) นายกล้า อายุ 16 ปี ตกลงหมั้นกับนางสาวกล้วย อายุ 16 ปี โดยพ่อแม่

ของนางสาวกล้วยไม่ยินยอม







28. จงเรียงลำดับโทษอาญาจากสถานเบาไปหาสถานหนัก

1. จำคุก 2. ริบทรัพย์สิน

3. ประหารชีวิต 4. กักขัง

5. ปรับ

1) 2 - 5 - 1 - 4 - 3 2) 5 - 2 - 4 - 1 - 3

3) 2 - 5 - 4 - 1 - 3 4) 5 - 2 - 1 - 4 - 3

29. ภาคเหนือ : ฟ้อนเทียน  ภาคใต้ : ?

1) เซิ้งบั้งไฟ 2) มโนราห์

3) กลองโทน 4) กุลาตีไม้

30. การปกครองระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกับการปกครองเผด็จการใน เรื่องใดมากที่สุด

1) ผู้นำของรัฐ 2) อำนาจตุลาการ

3) อำนาจอธิปไตย 4) ระบบเศรษฐกิจ

31. ข้อเสียของการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยคือข้อใด

1) การปกครองประเทศมีเสรีภาพ

2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง

3) ใช้เสียงข้างมากเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

4) ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค

32. หลักธรรมใดที่ผู้นำประเทศควรนำมาใช้เพื่อให้เกิดการสมานไมตรีกันในสังคม

1) สังคหวัตถุ 4 2) ทิศ 6

3) สัปปุริสธรรม 7 4) บุญกิริยาวัตถุ 10

33. ทุกข้อเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ยกเว้นข้อใด

1) วางระเบียบปฏิบัติราชการ

2) ลงมติถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

3) กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน

4) แต่งตั้งข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานราชการ

34. หากเกิดข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือราชการ เราสามารถเรียกร้อง ต่อศาลใดได้

1) ศาลทหาร 2) ศาลยุติธรรม

3) ศาลปกครอง 4) ศาลรัฐธรรมนูญ

35. การที่ชาวบ้านทุกคนช่วยกันปลูกป่าเนื่องในวันสำคัญ การกระทำดังกล่าว สอดคล้องกับคุณลักษณะสมาชิกในสังคมประชาธิปไตยข้อใด

1) มีเหตุผล 2) การมีส่วนร่วม

3) ความเสมอภาค 4) ยึดมั่นในประเพณี

36. สิทธิของบุคคลในข้อใดที่ไม่สามารถใช้แทนกันได้

1) การรับมรดก 2) การใช้สิทธิเรียกร้อง

3) การลงคะแนนเลือกตั้ง 4) การใช้สิทธิทำสัญญาแทน

37. เหตุใดทุกสังคมจึงต้องกำหนดกฎหมายขึ้นมาใช้

1) เป็นหลักในการเก็บภาษี

2) จะได้รู้ว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว

3) ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

4) เพื่อความเป็นระเบียบในการเกณฑ์ทหาร

38. การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง รัฐจะทำได้ในกรณีใด

1) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

2) การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ

3) การควบคุมจำนวนประชากร

4) การเกิดเหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศ

39. ครู - อาจารย์ทุกคนเน้นย้ำให้นักเรียนพูดภาษาไทยให้ถูกต้อง จัดเป็นหน้าที่ ของสถาบันการศึกษาในเรื่องใด

1) ช่วยให้สังคมมีเอกลักษณ์เดียวกัน

2) อบรมให้สมาชิกรู้จักระเบียบแบบแผน

3) ทำให้สมาชิกในสังคมมีพื้นฐานความรู้สูง

4) ปลูกฝังสมาชิกให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมอย่างถูกต้อง

40. สถาบันใดควบคุมมาตรฐานความประพฤติของสมาชิกในสังคม

1) สถาบันการศึกษา

2) สถาบันทางสังคม

3) สถาบันเศรษฐกิจ

4) สถาบันการเมืองการปกครอง

เศรษฐศาสตร์

41. ทุกข้อเป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบจุลภาค ยกเว้นข้อใด

1) วินัย ตัดสินใจซื้อตั๋วดูหนัง ด้วยเงิน 100 บาท

2) ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากอีกร้อยละ 0.2

3) การพยุงราคาอ้อยเพื่อการผลิตน้ำตาลของรัฐบาล

4) เมื่อน้ำมันเบนซินขึ้นจากลิตรละ 18 เป็น 28 บาท ทำให้คนหันไปใช้น้ำมัน

ดีเซลเพิ่มขึ้น

42. ควรใช้หลักเกณฑ์ใดเพื่อวินิจฉัยว่า การผลิตลักษณะใดมีประสิทธิภาพ

1) จ้างแรงงานด้วยค่าจ้างที่แพง

2) ใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุดในการผลิต

3) ดำเนินการโดยบริษัทดีเด่นของประเทศ

4) ทำงานด้วยเครื่องจักรจากประเทศชั้นนำ

43. หน่วยธุรกิจแตกต่างกับหน่วยครัวเรือนในข้อใด

1) หน่วยธุรกิจเป็นผู้ผลิตสินค้า หน่วยครัวเรือนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และบริโภค

2) หน่วยธุรกิจเป็นผู้ผลิตสินค้า หน่วยครัวเรือนเป็นผู้กำหนดนโยบาย

3) หน่วยครัวเรือนเป็นผู้ผลิตสินค้า หน่วยธุรกิจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และบริโภค

4) หน่วยครัวเรือนเป็นผู้ผลิต หน่วยธุรกิจเป็นผู้กำหนดนโยบาย







44. หากนักเรียนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ นักเรียนต้องศึกษาในเรื่องอะไรบ้าง

1) พฤติกรรมผู้บริโภค

2) การใช้ปัจจัยการผลิต

3) การกำหนดราคาขาย

4) ถูกทุกข้อ

45. สิ่งที่นักเรียนได้รับจากการทำบริษัทจำลองที่สำคัญ คือข้อใด

1) กำไรจากการขายสินค้าของบริษัทจำลอง

2) หน้าที่ความรับผิดชอบในแผนกต่างๆ

3) การเอารัดเอาเปรียบของเพื่อนร่วมงาน

4) การเรียกลูกค้าด้วยกลโกงต่างๆ

46. “ปัจจุบันผู้ซื้อรถยนต์มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับรถที่ตนซื้อมา เช่น เบรกไม่ทำงาน เครื่องดับบ่อย จึงได้มีการนำรถมาทุบเพื่อประจานความไม่รับผิดชอบของ บริษัทรถ” นักเรียนเห็นด้วยกับวิธีดังกล่าวหรือไม่

1) เห็นด้วย เพราะทำให้บริษัทจะได้รับผิดชอบเนื่องจากเป็นความผิดพลาด ของบริษัท

2) เห็นด้วย เพราะจะทำให้คนอื่นไม่ซื้อรถของบริษัทนั้น

3) ไม่เห็นด้วย เพราะเราสามารถร้องเรียน สคบ. เพื่อให้จัดการได้โดยไม่ต้อง ทำลายรถ

4) ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ตนเองไม่สามารถไปซื้อรถของบริษัทอื่นได้

47. นักเรียนคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มสหกรณ์ ในชุมชนคือข้อใด

1) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2) การทำงานร่วมกับผู้อื่น

3) ความโปร่งใสในการทำงาน

4) การฝึกประสบการณ์ในการทำงาน





48. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน คือข้อใด

1) ช่วยให้สมาชิกมีงานทำ มีรายได้

2) เกิดการเอารัดเอาเปรียบและค้ากำไร

3) สนับสนุนการปกครองแบบคณาธิปไตย

4) สามารถปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกที่มีปัญหา

49. “ประเทศ ก. เอกชนสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต และมีเสรีภาพ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศ ข. เอกชนสามารถดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจได้เหมือนประเทศ ก. แต่รัฐยังดำเนินการผลิตบางอย่างที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า ประปา” นักเรียนคิดว่าประเทศ ก. และประเทศ ข. มีลักษณะแบบใด

1) ทุนนิยม ผสม 2) ผสม สังคมนิยม

3) คอมมิวนิสต์ ผสม 4) ทุนนิยม สังคมนิยม

50. ข้อใดไม่ใช่กลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

1) OAS 2) EU

3) APEC 4) AFTA

51. เมื่อราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ รัฐบาลจะออกมาตรการใดออกช่วยเหลือ เกษตรกร

1) การกำหนดราคาขั้นต่ำ

2) การกำหนดราคาขั้นสูง

3) การกำหนดราคาดุลยภาพ

4) การกำหนดอัตราภาษีแบบก้าวหน้า

52. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีหน้าที่คล้ายกับธนาคารใด

1) ธนาคารไทยพาณิชย์

2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์

3) ธนาคารนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย

4) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร



53. ทุกข้อเป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ยกเว้นข้อใด

1) สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี

2) การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานเข้มแข็ง

3) สร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในชนบท

4) สร้างขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง

54. สาเหตุที่ทำให้แต่ละประเทศเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจคือข้อใด

1) ระบอบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกัน

2) เพื่อการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน

3) ความต้องการระดมเงินทุนจากต่างประเทศ

4) ความต้องการเงินสกุลดอลลาร์จากต่างประเทศ

55. ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศองค์การใด

1) ธนาคารโลก 2) กลุ่มประเทศ G 8

3) องค์การการค้าโลก 4) เขตการค้าเสรีอาเซียน

56. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง

1) รับฝากเงินจากหน่วยงานของรัฐบาล

2) เป็นแหล่งเงินทุนของธนาคารพาณิชย์

3) เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

4) รับฝากเงินจากประชาชนทั้งในและต่างประเทศ

57. นายธำรงรัตน์ อายุ 45 ปี ถูกบริษัทจ้างให้ออกจากงาน พร้อมทั้งให้เงินสด จำนวนหนึ่ง ถ้านักเรียนเป็นธำรงรัตน์จะทำอย่างไร

1) เปิดร้านขายของชำ

2) นำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น

3) นำเงินไปซื้อรถใหม่ป้ายแดง

4) นำเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย



58. การสร้างความเท่าเทียมของโอกาสในทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในสังคมนั้น รัฐบาลควรใช้มาตรการใด

1) มาตรการทางภาษี

2) ส่งเสริมการลงทุน

3) ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน

4) ให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรรายย่อย

59. เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับข้อใด

1) พฤติกรรมการทำงานของคนในสังคม

2) กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

3) การจัดการด้านการบริโภคของมนุษย์ที่มีไม่สิ้นสุด

4) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

60. จากคำกล่าวที่ว่า “การหาเงินเป็นสิ่งสำคัญ แต่การรู้จักใช้เงินมีความสำคัญกว่า” นั้นจะมีความหมายตรงกับข้อใด

1) รู้จักการใช้เงินอย่างสม่ำเสมอ

2) รู้จักการซื้อสินค้าและบริการอย่างฉลาด

3) รู้จักการซื้อสินค้าและบริการตามความจำเป็น

4) รู้จักการซื้อสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่

ประวัติศาสตร์

61. ข้อใดเป็นเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามการเริ่มต้นของ เหตุการณ์สำคัญ

1) สมัยรัตนโกสินทร์ 2) สมัยราชวงศ์ทิวดอร์

3) สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม 4) สมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์







62. ในสายตาของนักประวัติศาสตร์ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการจำแนกยุคสมัยออก เป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์

1) การตั้งเมืองหลวง

2) การประดิษฐ์อักษร

3) การพัฒนาการของมนุษย์

4) การตั้งราชวงศ์ปกครองประเทศ

63. เหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ตรงกับยุคสมัยพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ของประเทศไทย

1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

3) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 4) สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

64. เหตุการณ์ใดที่เป็นจุดเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

1) สงครามเย็นสิ้นสุดลง 2) สงครามครูเสดสิ้นสุดลง

3) สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง 4) สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

65. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่เริ่มต้นจากเหตุการณ์ใด

1) การเลิกทาส

2) การทำสัญญาเบาว์ริง

3) การก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

66. จารึกโรเซตต้าเป็นพวกเดียวกับข้อใด

1) นครวัด 2) สฟิงก์

3) มาซูปิกซู 4) บันทึกลาลูแบร์

67. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

1) ลัทธิชาตินิยม

2) ลัทธิจักรวรรดินิยม

3) การแข่งขันด้านแสนยานุภาพ

4) ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาต



68. จงเรียงลำดับขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

1. เลือกสรรและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล

2. นำเสนอข้อมูลหรือสังเคราะห์ข้อมูล

3. รวบรวมหลักฐาน

4. ตั้งหัวข้อที่จะศึกษา

5. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน

1) 4 - 3 - 1 - 2 - 5 2) 4 - 3 - 5 - 1 - 2

3) 4 - 3 - 2 - 1 - 5 4) 4 - 2 - 3 - 1 - 5

69. สิ่งใดมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของทั้งชาวตะวันตกและชาวไทย

1) วิทยาศาสตร์ 2) ศาสนาและความเชื่อ

3) ระบอบการปกครอง 4) ภาษาและวรรณคดี

70. อารยธรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลกมักจะตั้งอยู่บริเวณใด

1) หุบเขาขนาดใหญ่ 2) ทะเลทราย

3) ที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4) ที่ราบสูง

71. การที่ทวีปยุโรปมีพื้นที่ติดต่อกับทะเลส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานอย่างไร

1) ไม่สามารถตั้งถิ่นฐานได้ เพราะทำให้ขาดแคลนแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภค

2) ไม่สามารถตั้งถิ่นฐานได้ เพราะบริเวณชายฝั่งทะเลจะถูกกัดเซาะจนไม่สามารถ ตั้งถิ่นฐานได้

3) สามารถตั้งถิ่นฐานได้ เพราะได้รับอิทธิพลจากลมทะเลทำให้อากาศอบอุ่น เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน

4) สามารถตั้งถิ่นฐานได้ เพราะมีเทือกเขาอยู่ทางใต้ซึ่งเป็นกำแพงธรรมชาติ

72. ทวีปแอฟริกาแม้จะเป็นทวีปที่แห้งแล้ง แต่เพราะเหตุใดจึงเป็นแหล่งกำเนิด อารยธรรมที่สำคัญของโลก

1) ผู้นำเข้มแข็ง 2) มีเขตปกครองกว้างขวาง

3) มีระบบการชลประทานที่ดี 4) ประชากรมีคุณภาพชีวิตสูง





73. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2

1) สงครามเย็น 2) กำแพงเบอร์ลิน

3) องค์การสันนิบาตชาติ 4) องค์การสหประชาชาติ

74. พีระมิด รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่วิทยาการทางด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องใด

1) มนุษย์ต้องการความอยู่รอด

2) มนุษย์ต้องการการยอมรับจากสังคม

3) มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติ

4) มนุษย์ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

75. ผลงานสำคัญที่ชาวอินคาได้สร้างอารยธรรมไว้ คืออะไร

1) วิหารพาร์เธนอน 2) พีระมิด

3) รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา 4) มาซูปิกซู

76. มหาราชกรณีของพระเจ้าตากสินมหาราช ข้อใดทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติ มากที่สุด

1) การกอบกู้เอกราช 2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจ

3) การบำรุงขวัญประชาชน 4) การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

77. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจในสมัยธนบุรี

1) เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว

2) เก็บภาษีจากการขุดหาสมบัติในราชธานีเก่า

3) การค้ากับจีนหยุดชะงัก

4) ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร

78. จากการศึกษาประวัติศาสตร์ธนบุรี นักเรียนคิดว่าเป็นอย่างไร

1) บ้านเมืองสงบสุข และประชาชนกินดีอยู่ดี

2) บ้านเมืองสงบสุข เพราะมีการเก็บภาษีได้มาก

3) บ้านเมืองไม่สงบสุข เพราะต้องทำสงครามรักษาประเทศ

4) บ้านเมืองไม่สงบสุข เพราะต้องทำการค้ากับต่างประเทศ



79. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่ามักจะมีความสัมพันธ์กันด้านใดมากที่สุด

1) การทำสงคราม 2) การเผยแผ่ศาสนา

3) การค้าขาย 4) การปกครอง

80. เหตุการณ์ใดไม่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

1) การทำสัญญาเบาว์ริง

2) การทำศึกเชียงกรานกับพม่า

3) การเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ

4) การก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภูมิศาสตร์

81. คำว่า “ยูเรเชีย” หมายถึงอะไร

1) เมืองท่าที่สำคัญของยุโรป

2) แม่น้ำที่สำคัญของทวีปยุโรป

3) น้ำตกที่เลื่องชื่อของทวีปยุโรป

4) แผ่นดินของยุโรปที่ต่อเนื่องจากทวีปเอเชีย

82. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ทวีปยุโรปมีลักษณะภูมิอากาศอบอุ่น คืออะไร

1) ตั้งอยู่ในเขตละติจูดต่ำ 2) ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ

3) ประชากรมีคุณภาพชีวิตสูง 4) กระแสน้ำอุ่นที่ไหลผ่านทวีป

83. ทะเลสาบทั้ง 5 (Great Lake) เกิดจากการกระทำของสิ่งใด

1) การกัดเซาะของแม่น้ำ

2) การกัดเซาะของธารน้ำแข็ง

3) การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

4) การพัดพาของลมภายในทวีป

84. พืชพรรณธรรมชาติในข้อใดไม่พบในทวีปอเมริกาใต้

1) ป่าไทก้า 2) ไม้พุ่มเตี้ย

3) มอส ตะไคร่น้ำ 4) ทุ่งหญ้าสะวันนา



85. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา

1) ตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น

2) มีแม่น้ำที่สำคัญคือไนล์

3) ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง

4) มีกระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรเหนือไหลผ่าน

86. สาเหตุสำคัญที่สุด ที่ทำให้เศรษฐกิจของทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมีความ ก้าวหน้ากว่าทวีปอื่นๆ คือข้อใด

1) ลักษณะภูมิประเทศอบอุ่น 2) มีเส้นทางการคมนาคมสะดวก

3) ประชากรมีทักษะและคุณภาพสูง 4) มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

87. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

1) การเมืองการปกครองของทวีปยุโรปมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีก - โรมัน

2) ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา

3) ทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

4) ทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่เคยตกเป็นอาณานิคมของยุโรป

88. หากเปรียบเทียบการกระจายตัวของประชากรแล้ว บริเวณใดต่อไปนี้ที่มีประชากร อาศัยอยู่อย่างเบาบาง

1) บริเวณที่ราบเกรตเพลน 2) บริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน

3) บริเวณตะวันตกของทวีปยุโรป 4) บริเวณตะวันตกของทวีปแอฟริกา

89. ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนับถือกันมากในประเทศใดบ้าง

1) ซูดาน ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา

2) แอฟริกาใต้ อังกฤษ แคนาดา

3) อิตาลี เม็กซิโก บราซิล

4) เคนยา เวเนซูเอลา สเปน





90. ถ้านักเรียนต้องการที่จะทราบถึงแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ควรใช้แผนที่ชนิดใด

1) แผนที่ภูมิประเทศ เพราะเป็นแผนที่บอกถึงความสูงต่ำของสถานที่นั้น

2) แผนที่ทางหลวง เพราะบอกเส้นทางต่างๆ ทำให้สามารถเดินทางได้อย่าง สะดวก

3) แผนที่ท่องเที่ยว เพราะเป็นแผนที่ที่บอกเส้นทางและสถานที่ในสถานที่นั้นๆ

4) แผนที่ยุทธศาสตร์ เพราะจะทำให้เรารู้ความเคลื่อนไหวของพื้นที่นั้นๆ

91. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของภาพถ่ายดาวเทียม

1) ข้อมูลอยู่ในลักษณะของตัวเลข

2) รายละเอียดของภาพมีหลายระดับ

3) สามารถบันทึกซ้ำในบริเวณเดิม

4) บันทึกภาพได้เพียงช่วงคลื่นเดียว

92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน

1) GIS - ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

2) RS - ระบบปฏิบัติการทางภูมิศาสตร์

3) GPS - การกำหนดจุดพิกัด

4) DBMS - การจัดเก็บฐานข้อมูล

93. เมื่อดูจากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่ามีสีเขียวทึบ ข้อมูลที่นักเรียนได้นี้คือสิ่งใด

1) ป่าไม้ทึบ 2) ป่าไม้โปร่ง

3) ป่าไม้ถูกทำลาย 4) สาหร่ายในแม่น้ำ

94. ทรัพยากรธรรมชาติใดที่พบทั้ง 4 ภูมิภาค แต่ปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลน มากที่สุด

1) ทรัพยากรดิน เพราะมีการชะล้างพังทลายสูง

2) ทรัพยากรน้ำ เพราะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

3) ทรัพยากรแร่ธาตุ เพราะมีการใช้อย่างมากโดยเฉพาะน้ำมัน

4) ทรัพยากรป่าไม้ เพราะมีการตัดไม้เพื่อการส่งออก ทำเฟอร์นิเจอร์



95. ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่กำลังเข้ามาทำลายสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของ ประเทศกำลังพัฒนา

1) ทุนนิยม 2) สังคมนิยม

3) คอมมิวนิสต์ 4) ผสม

96. ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ สถานการณ์ใดที่กำลังเกิดขึ้นรุนแรงในปัจจุบัน

1) สภาวะโลกร้อน 2) การตัดไม้ทำลายป่า

3) การเพิ่มจำนวนประชากร 4) การทำสงครามระหว่างประเทศ

97. ข้อใดคือการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม

1) การกักเก็บน้ำโดยสร้างเขื่อนจำนวนมาก

2) การใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

3) การปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างของหน้าดิน

4) การใช้น้ำมันอย่างคุ้มค่าโดยหาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ เสมอ

98. นักเรียนมีบทบาทอย่างไรในการช่วยแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน

1) ใช้อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีสาร CFC

2) หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุจากโฟมทุกชนิด

3) เรียกร้องกับนานาชาติให้ลดภาวะโลกร้อน

4) สั่งปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

99. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1) เกิดชนชั้นกรรมาชีพขึ้นในสังคม

2) เกิดแนวคิดสังคมนิยม โดยอริสโตเติล

3) ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้น

4) เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เช่น เครื่องจักรไอน้ำ

100. พิธีสารเกียวโตเป็นพิธีสารที่เกี่ยวกับเรื่องใด

1) เพื่อป้องกันการส่งของเสียข้ามแดน

2) เพื่ออนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำ

3) เพื่อต้องการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

4) เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน

เฉลยชุดที่ ๔

มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 4


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)



ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ

1. 4) 26. 2) 51. 1) 76. 1)

2. 3) 27. 4) 52. 1) 77. 2)

3. 2) 28. 3) 53. 4) 78. 4)

4. 2) 29. 2) 54. 3) 79. 4)

5. 2) 30. 1) 55. 1) 80. 1)

6. 4) 31. 3) 56. 2) 81. 1)

7. 3) 32. 4) 57. 4) 82. 2)

8. 4) 33. 1) 58. 4) 83. 3)

9. 2) 34. 2) 59. 1) 84. 2)

10. 1) 35. 2) 60. 2) 85. 1)

11. 2) 36. 3) 61. 1) 86. 2)

12. 3) 37. 1) 62. 1) 87. 4)

13. 4) 38. 4) 63. 2) 88. 4)

14. 4) 39. 2) 64. 4) 89. 4)

15. 4) 40. 2) 65. 1) 90. 3)

16. 3) 41. 4) 66. 4) 91. 2)

17. 4) 42. 1) 67. 4) 92. 1)

18. 3) 43. 4) 68. 4) 93. 4)

19. 4) 44. 3) 69. 1) 94. 1)

20. 3) 45. 1) 70. 1) 95. 4)

21. 2) 46. 3) 71. 3) 96. 1)

22. 4) 47. 1) 72. 4) 97. 3)

23. 2) 48. 4) 73. 4) 98. 4)

24. 1) 49. 3) 74. 2) 99. 2)

25. 1) 50. 3) 75. 2) 100. 2)

เฉลยชุดที่ ๓

มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 3


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)



ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ

1. 2) 26. 4) 51. 4) 76. 3)

2. 3) 27. 1) 52. 4) 77. 2)

3. 3) 28. 1) 53. 1) 78. 3)

4. 1) 29. 4) 54. 2) 79. 3)

5. 2) 30. 4) 55. 4) 80. 2)

6. 1) 31. 3) 56. 1) 81. 1)

7. 1) 32. 1) 57. 2) 82. 2)

8. 2) 33. 2) 58. 4) 83. 2)

9. 2) 34. 2) 59. 2) 84. 1)

10. 1) 35. 3) 60. 2) 85. 3)

11. 2) 36. 3) 61. 3) 86. 2)

12. 2) 37. 2) 62. 1) 87. 2)

13. 1) 38. 4) 63. 2) 88. 4)

14. 3) 39. 2) 64. 1) 89. 1)

15. 2) 40. 1) 65. 4) 90. 1)

16. 1) 41. 4) 66. 3) 91. 4)

17. 4) 42. 2) 67. 4) 92. 4)

18. 4) 43. 1) 68. 4) 93. 1)

19. 1) 44. 1) 69. 1) 94. 4)

20. 2) 45. 3) 70. 4) 95. 4)

21. 2) 46. 2) 71. 2) 96. 4)

22. 4) 47. 1) 72. 3) 97. 4)

23. 3) 48. 3) 73. 4) 98. 3)

24. 1) 49. 1) 74. 1) 99. 1)

25. 1) 50. 3) 75. 4) 100. 2)

เฉลยชุดที่ ๒

มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 2


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)



ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ

1. 3) 26. 2) 51. 1) 76. 1)

2. 3) 27. 1) 52. 2) 77. 4)

3. 1) 28. 3) 53. 3) 78. 3)

4. 3) 29. 4) 54. 3) 79. 2)

5. 3) 30. 1) 55. 2) 80. 3)

6. 2) 31. 4) 56. 1) 81. 2)

7. 1) 32. 1) 57. 4) 82. 1)

8. 1) 33. 2) 58. 1) 83. 4)

9. 3) 34. 2) 59. 1) 84. 3)

10. 4) 35. 1) 60. 1) 85. 3)

11. 1) 36. 2) 61. 3) 86. 2)

12. 1) 37. 4) 62. 2) 87. 3)

13. 3) 38. 4) 63. 2) 88. 2)

14. 3) 39. 1) 64. 4) 89. 3)

15. 2) 40. 1) 65. 3) 90. 2)

16. 4) 41. 1) 66. 2) 91. 1)

17. 2) 42. 3) 67. 1) 92. 2)

18. 1) 43. 4) 68. 3) 93. 3)

19. 4) 44. 4) 69. 1) 94. 3)

20. 4) 45. 1) 70. 4) 95. 3)

21. 4) 46. 1) 71. 3) 96. 2)

22. 1) 47. 2) 72. 1) 97. 2)

23. 2) 48. 2) 73. 2) 98. 1)

24. 4) 49. 1) 74. 1) 99. 3)

25. 3) 50. 1) 75. 1) 100. 2)

เฉลยชุดที่ ๑

มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เฉลย ชุดที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)



ข้อ คำตอบ 

1. 1) 26. 3) 51. 2) 76. 1)

2. 4) 27. 2) 52. 1) 77. 2)

3. 4) 28. 3) 53. 1) 78. 3)

4. 4) 29. 1) 54. 2) 79. 1)

5. 2) 30. 1) 55. 3) 80. 4)

6. 4) 31. 4) 56. 3) 81. 2)

7. 4) 32. 4) 57. 4) 82. 3)

8. 4) 33. 3) 58. 4) 83. 1)

9. 3) 34. 3) 59. 2) 84. 3)

10. 1) 35. 3) 60. 3) 85. 4)

11. 4) 36. 2) 61. 2) 86. 2)

12. 3) 37. 3) 62. 2) 87. 4)

13. 1) 38. 3) 63. 3) 88. 3)

14. 3) 39. 3) 64. 4) 89. 4)

15. 2) 40. 1) 65. 3) 90. 4)

16. 3) 41. 3) 66. 2) 91. 3)

17. 2) 42. 4) 67. 3) 92. 4)

18. 4) 43. 3) 68. 1) 93. 2)

19. 1) 44. 1) 69. 1) 94. 2)

20. 4) 45. 4) 70. 2) 95. 2)

21. 4) 46. 3) 71. 2) 96. 3)

22. 3) 47. 4) 72. 2) 97. 2)

23. 3) 48. 3) 73. 2) 98. 4)

24. 4) 49. 3) 74. 2) 99. 1)

25. 1) 50. 3) 75. 3) 100. 4)

23 มกราคม 2554

เรียนรู้เรื่องภูเขาๆๆๆ


ภูเขา     หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร


ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน

ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา

ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน

ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน



ภูเขาที่สำคัญในประเทศไทย



ภูเขาหรือเทือกเขาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพราะไม่เพียงอุดมไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารสายสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คน พืชพรรณ และนานาชนิดอีกด้วยผลประโยชน์ทางอ้อมอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถใช้เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศหรือใช้เป็นแนวแบ่ง เขตระหว่างภูมิภาคได้อีกด้วย เทือกเขาสำคัญในแต่ละภูมิภาคของไทยเรามีดังนี้

ภาคเหนือ




1. เทือกเขาแดนลาว : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ ตัวเทือกเขาทอดยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือมายังตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุม พื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดเชียงรายและตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่มีความ ยาวทั้งสิ้น 1,330 กิโลเมตร แต่ส่วนที่อยู่ในเขตประเทศไทยมีความยาวเพียง 120 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยผ้าห่มปก? ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,146 เมตร



2. เทือกเขาจอมทอง : เป็นแนวเขาที่อยู่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยไปทางตะวันตกของจังหวัด เชียงใหม่โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ดอกอินทนนท์? ซึ่งสูงถึง 2,565 เมตร นับเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทยด้วย



3. เทือกเขาถนนธงชัย : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์เช่นกัน โดยตั้งอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้ ไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก อุทัยธานี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดของไทย คือมีความยาวถึง 880 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?เขาใหญ่? มีความสูงประมาณ 2,152 เมตร



4. เทือกเขาผีปันน้ำ : ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย ไล่ลงมาทางตะวันตกของจังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ และสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง มีความยาวประมาณ 412 กิโลเมตร โดยมีส่วนที่สูงที่สุดอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา ซึ่งมีความสูงราว 1,697 เมตร



5. เทือกเขาขุนดาล : เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ ตั้งอยู่ตามแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลงมาจนถึงจังหวัดลำปาง เป็นเทือกเขาที่มีอุโมงค์รถไฟความยาว 1,326.05 เมตรลอดผ่าน ส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานี้อยู่ที่ ?ดอยลังกา? ซึ่งมีความสูง 2,031 เมตร สำหรับ ?ดอยขุนดาล? ที่รู้จักกันทั่วไปมีความสูงประมาณ 1,374 เมตรเท่านั้น



6. เทือกเขาหลวงพระบาง : เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยาเลื่อนลงมาจนถึงจังหวัดพิษณุโลก มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 590 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ ?ดอยขุนดาล"ว



7. เทือกเขาเพชรบูรณ์ : เป็นเทือกเขาที่อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาหลวงพระบางครอบคลุมตั้งแต่ภาคเหนือ ตอนล่างลงมาถึงภาคกลางตอนบน มีความยาวรวม 586 กิโลเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกตั้งแต่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ผ่านจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น และชัยภูมิ มีความยาว 236 กิโลเมตรและส่วนที่สองเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักผ่านจังหวัดเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และลพบุรี มีความยาว 350 กิโลเมตร



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



1. เทือกเขาพนมดงรัก : เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ทอดตัวตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 544 กิโลเมตร



2. เทือกเขาสันกำแพง : อยู่ต่อเนื่องจากเทือกเขาดงพญาเย็น ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา และทางเหนือของจังหวัดนครนายก ผ่านจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีความยาวทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร



3.เทือกเขาภูพาน : เป็นเทือกเขาที่ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร



ภาคกลาง



1. เทือกเขาดงพญาเย็น : ทอดตัวต่อเนื่องจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแนวกั้นเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มจากจังหวัดลพบุรี ผ่านบางส่วนของนครราชสีมาจนถึงนครนายก รวมความยาวประมาณ 129 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีบางส่วนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยอดยาวลงมาจากภาค เหนือซึ่งใช้เป็นแนวเขตระหว่างภาคเหนือและภาคกลางของไทยด้วย



ภาคตะวันออก



1. เทือกเขาจันทบุรี : ตั้งอยู่ในแนวตะวันตก-ตะวันออก เริ่มจากจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด จนจังหวัดจันทบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 281 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาสอยดาวใต้? ซึ่งมีความสูง 1,670 เมตร



2 .เทือกเขาบรรทัด : เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตอนกลางของภาค ทำหน้าที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ทางตอนเหนือของจังหวัดตราดไปจนถึงเขตอำเภอคลองใหญ่ของจังหวัดตราด เช่นเดียวกัน รวมความยาวได้ประมาณ 144 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ตรง ?เขาตะแบงใหญ่? ซึ่งสูง 914 เมตร



ภาคตะวันตก



1 เทือกเขาตะนาวศรี : เป็นแนวต่อเนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัย เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปทางใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีความยาวประมาณ 834 กิโลเมตรนอกจากนี้ยังมีทิวเขาถนนธงชัยตอนกลางและตอนใต้เป็นแนวพรมแดนระหว่าง ไทยกับสหภาพเมียนมาร์ที่ทอดยาวมาตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงพื้นที่ในเขตภาค ตะวันตกอีกด้วย



ภาคใต้



1. เทือกเขาภูเก็ต : เป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มจากจังหวัดชุมพรทอดขนาน ไปกันชายฝั่งทะเลของชุมพร พังงา กระบี่ จนถึงจังหวัดนครราชสีธรรมราช รวมความยาวประมาณ 517 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุด คือ ?เขาพนมเบญจา? ซึ่งสูง 1,397 เมตร



2. เทือกเขานครศรีธรรมราช : เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาภูเก็ตโดยเริ่มจากจังหวัดสุราษฎร์ ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง แล้วไปสิ้นสุดที่จังหวัดสตูล รวมความยาวได้ประมาณ 319 กิโลเมตร ?เขาหลวง? คือส่วนที่สูงที่สุดมีความสูงราว 1,835 เมตร



3. เทือกเขาสันกาลาคีรี : เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซียตั้งแต่บริเวณจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวมความยาว 428 กิโลเมตร ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่ ?ฮูลูติติปาซา? มีความสูง 1,535 เมตร





ข้อมูลจาก http://thailand.igetweb.com/index.php?mo=3&art=257639

nuzing is offline

20 มกราคม 2554

ส่งผลการสอบของ ม.๓

กำหนดส่งผลสอบชั้น ม.๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ ใครไม่ส่งตามกำหนดถือว่าสละสิทธิ์คะแนน

18 มกราคม 2554

แนวข้อสอบชุด ๔

แนวข้อสอบ
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
1. ศาสนามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะเหตุใด
1) ศาสนาทำให้เกิดความสงบ
2) ศาสนาเป็นข้อบังคับของสังคม
3) ศาสนาทำให้มนุษย์มีความเมตตา
4) ศาสนาจะเป็นเครื่องช่วยเตือนสติในมนุษย์
2. นักเรียนเข้าใจว่าทุกศาสนานั้นมีแนวคิดอย่างไร
1) ทุกศาสนาให้นับถือศาสดาคนเดียวกัน
2) ทุกศาสนาจะมีจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน
3) ทุกศาสนามุ่งให้ผู้คนประพฤติในสิ่งที่ดีงาม
4) ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนอยู่ในวรรณะที่เท่ากัน
3. ในศาสนาพุทธเชื่อว่า จุดหมายสูงสุดของชีวิตคืออะไร
1) ไปอยู่กับพระเจ้า
2) การหลุดพ้นจากกิเลส
3) การเสียสละชีวิตเพื่อศาสนา
4) การประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด
4. การที่เราศึกษาพุทธศาสนสุภาษิต เพราะจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
1) เรียนรู้ภาษาบาลี 2) เพื่อคอยเตือนสติตนเอง
3) นำไปสอนผู้อื่น 4) นำไปพูดคุยกับพระสงฆ์ได้
5. พระพุทธศาสนาเข้ามายังประเทศพม่าที่เมืองใด
1) ย่างกุ้ง 2) เมาะตะมะ
3) สะเทิม 4) มินมะนา
6. พระพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยของกษัตริย์อินเดียพระองค์ใด
1) พระเจ้าอชาติศัตรู 2) พระเจ้าพิมพิสาร
3) พระเจ้าปเสนทิโกศล 4) พระเจ้าอโศกมหาราช
7. “นาลันทา” มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร
1) มหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
2) โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกของโลก
3) มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก
4) สถานที่แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
8. หลักธรรมใดถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
1) ไตรลักษณ์ 2) บุญกิริยาวัตถุ 10
3) สัปปุริสธรรม 7 4) โอวาทปาฏิโมกข์
9. ข้อใดจัดเป็นสัมมาวาจา
1) ธาวิน กอดคอคุยกับครูสอนพิเศษ
2) ปาริตา พูดกับครูด้วยอาการอ่อนน้อม
3) เวียงแก้ว พูดเยาะเย้ยเพื่อนเมื่อตอบคำถามครูผิด
4) ขวัญชัย บอกเพื่อนเรื่องตนเป็นเทวดากลับชาติมาเกิด
10. แนวทางที่ดีเกี่ยวกับการได้ประโยชน์ - เสียประโยชน์ ที่ควรทำอย่างยิ่งคือข้อใด
1) ตนเองได้ประโยชน์ คนอื่นได้ประโยชน์
2) ตนเองได้ประโยชน์ คนอื่นเสียประโยชน์
3) ตนเองเสียประโยชน์ คนอื่นได้ประโยชน์
4) ตนเองเสียประโยชน์ คนอื่นเสียประโยชน์
11. ธมฺจารี อ่านว่าอย่างไร
1) ธะ - มะ - จา - รี 2) ธัม - มะ - จา - รี
3) ธะ - มะ - จา - รัง 4) ธัม - มะ - จา - รัง
12. สุสฺสูสํง อ่านว่าอย่างไร
1) สุ - สะ - สู - สง 2) สุ - สะ - สูง - สัง
3) สุด - สะ - สู - สัง 4) สุด - สะ - สู - สัง
13. การเวียนว่ายตายเกิดเกี่ยวข้องกับศัพท์ทางพุทธศาสนาคำใด
1) ศรัทธา 2) อกุศล
3) สังขาร 4) วัฏสงสาร
14. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ หมายความว่าอย่างไร
1) ชนะตนนั่นแลดีกว่า
2) ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
3) ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
4) ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
15. ผู้ที่จะเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้นั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1) เป็นชาวพุทธโดยกำเนิด
2) จำหลักธรรมของศาสนาได้แม่นยำ
3) บวชเรียนก่อนอย่างน้อย 1 พรรษา
4) เข้าใจและปฏิบัติตามหลักธรรมอย่างถูกต้อง
16. ปัจจุบันชาวบ้านมักจะชอบขูดขอเลขจากต้นไม้ประหลาด หรือสิ่งแปลก รวมทั้งมีการทำเสน่ห์ เวทมนตร์ นักเรียนควรทำอย่างไรเพื่อขจัดความเชื่อ ดังกล่าวให้ได้มากที่สุด
1) ต้องลงโทษผู้งมงาย
2) ทำลายลัทธิหรือสิ่งที่ชาวบ้านนับถือ
3) ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง
4) สร้างภาพพจน์ให้พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้มีวิชาแกร่งกล้า
17. ข้อใดคือการฝึกจิตด้วยวิธีอานาปานสติ
1) สมถกรรมฐาน 2) เทวดานุสติ
3) กายคตาสิต 4) วิปัสสนากรรมฐาน
18. ภาวนาปัญญา หมายถึงข้อใด
1) ปัญญาเกิดจากความคิด 2) ปัญญาเกิดจากการลงมือกระทำ
3) ปัญญาเกิดจากความมีสติ 4) ปัญญาเกิดจากการประเมินผล

19. การพัฒนาปัญญาทำให้เกิดประโยชน์หลายประเภท ยกเว้นข้อใด
1) ทำให้แก้ปัญหาชีวิตได้
2) ทำให้เราสามารถวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง
3) ทำให้เป็นคนมีเหตุผล ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
4) ทำให้สามารถสร้างฐานะความร่ำรวยให้แก่บุคคลที่สามารถปฏิบัติได้
20. คำว่า “สาธุ” มีความหมายว่าอย่างไร
1) ผู้ให้ 2) ผู้รับ
3) ดีแล้ว 4) ตกลง
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
21. กาญจนาใส่หมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขับรถจักรยานยนต์ การกระทำของ กาญจนาสอดคล้องกับการเป็นพลเมืองดีด้านใด
1) รับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) ปฏิบัติตามกฎหมาย
3) เสียสละเพื่อส่วนรวม 4) ปฏิบัติตามข้อบังคับของสังคม
22. การกระทำใดแสดงให้เห็นถึงการเป็นพลเมืองดีด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
1) เก๋าช่วยเพื่อนทำเวรทุกวัน
2) เก๋ชอบส่องกล้องดูนกทุกสัปดาห์
3) กิ๊กเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมได้เกรดดีมาก
4) โก้ห่อข้าวโดยใช้ปิ่นโตไปโรงเรียนทุกวัน
23. หลักการของระบอบประชาธิปไตยข้อใดสำคัญที่สุด
1) ประชาชนมีสิทธิเสมอภาคกัน
2) อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน
3) ประชาชนเลือกผู้แทนด้วยตนเองได้
4) รัฐต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
24. การใช้อำนาจอธิปไตยข้อใดที่เป็นอิสระจากรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
1) ตุลาการ 2) นิติบัญญัติ
3) บริหาร 4) บริหารและนิติบัญญัติ

25. ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นกฎหมายมหาชน
1) กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2) กฎหมายแพ่ง
3) กฎหมายพาณิชย์ 4) กฎหมายระหว่างประเทศ
26. มีคนกำลังเข้าแถวซื้อตั๋วภาพยนตร์ นักเรียนมาทีหลังควรปฏิบัติตนอย่างไร
1) ยืนต่อหัวแถว 2) ยืนต่อท้ายแถว
3) ขอแทรกกลางแถว 4) ฝากคนข้างหน้าซื้อ
27. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ. 2542 กำหนดให้เด็กอายุในข้อใด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) 7 ปีบริบูรณ์ - 15 ปีบริบูรณ์ 2) ย่างเข้าปีที่ 8 - 15 ปีบริบูรณ์
3) 8 ปีบริบูรณ์ - 16 ปีบริบูรณ์ 4) ย่างเข้าปีที่ 7 - ย่างเข้าปีที่ 16
28. เงินได้สุทธิคำนวณได้ตามข้อใด
1) เงินได้พึงประเมิน + ค่าใช้จ่าย
2) เงินได้พึงประเมิน + ค่าลดหย่อน
3) เงินได้พึงประเมิน - (ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน)
4) เงินได้พึงประเมิน + ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน
29. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กำหนดให้หน่วยงานใดมีบทบาทมากที่สุด ในการดูแลสิ่งแวดล้อม
1) นายกรัฐมนตรี 2) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
3) รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 4) กรมป่าไม้
30. การกู้ยืมเงินจำนวนเท่าใดขึ้นไป จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1) 50 บาทขึ้นไป 2) 100 บาทขึ้นไป
3) 500 บาทขึ้นไป 4) 1,000 บาทขึ้นไป
31. การซื้อขายในข้อใดต่อไปนี้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่
1) แหวนเพชร 2) รถยนตร์
3) ร้านอาหาร 4) สร้อยคอทองคำ
32. นายเก๋าตกลงขายรถยนต์ให้นายกล้าราคา 10,000 บาท โดยทั้งสองคนตกลง ด้วยวาจา ต่อมานายเก๋าเปลี่ยนใจไม่ยอมขายให้ เนื่องจากมีผู้ซื้อรายอื่นให้ราคา สูงกว่า ในกรณีนี้นายกล้าสามารถฟ้องร้องได้หรือไม่
1) ได้ เพราะได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว
2) ได้ เพราะสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องทำหนังสือ
3) ไม่ได้ เพราะมูลค่าการซื้อขายน้อยเกินไป
4) ไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
33. น้อยมีลูกหลายคน แต่มีรายได้น้อยไม่พอเลี้ยงลูก น้อยจึงหยิบนมในห้าง สรรพสินค้าโดยพนักงานไม่ทราบ น้อยมีความผิดตามข้อใด
1) ลักทรัพย์ 2) ชิงทรัพย์
3) วิ่งราวทรัพย์ 4) ขโมยทรัพย์
34. กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีจำนวนกี่คน
1) 3 คน 2) 5 คน
3) 7 คน 4) 9 คน
35. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง
1) มีหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้ง
2) การทำงานยึดหลักนโยบายของรัฐบาล
3) วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
4) เป็นองค์การอิสระไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายใดทั้งสิ้น
36. ข้อใดจัดเป็นสถานภาพที่ได้มาภายหลัง
1) น้อยเป็นบุตรคนโต 2) นิดมีน้องสาว 2 คน
3) หน่อยทำงานที่บริษัทเล็กๆ 4) นิ่มเป็นคนเชียงใหม่
37. ข้อใดเป็นสถานภาพที่ติดตัวมา
1) ก้อยเป็นคนปักษ์ใต้ 2) โชคเป็นตำรวจจราจร
3) จุ๋มจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 4) แนนเป็นม่ายและมีลูกติด 1 คน


38. สถาบันใดที่สมาชิกมีความผูกพันกันมากที่สุด
1) สถาบันศาสนา 2) สถาบันการศึกษา
3) สถาบันเศรษฐกิจ 4) สถาบันครอบครัว
39. สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติควบคู่ไปกับสิทธิและเสรีภาพ คือข้อใด
1) การประนีประนอม 2) หน้าที่ความรับผิดชอบ
3) บทบาท 4) ความเสมอภาค
40. ข้อใดสัมพันธ์กัน
1) แกงเหลือง - ภาคเหนือ
2) แกงไตปลา - ภาคใต้
3) แกงโฮะ - ภาคกลาง
4) แกงเขียวหวาน - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เศรษฐศาสตร์
41. เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับข้อใด
1) พฤติกรรมการทำงานของคนในสังคม
2) กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์
3) การจัดการด้านการบริโภคของมนุษย์ที่มีไม่สิ้นสุด
4) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
42. ในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ สิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุด คือข้อใด
1) ปริมาณทรัพยากร 2) ความต้องการของมนุษย์
3) เงินทุน 4) ตลาดระบายสินค้า
43. วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่มีความจำเป็นในสังคมแบบใด
1) สังคมประชาธิปไตย
2) สังคมเผด็จการอำนาจนิยม
3) สังคมที่มีความต้องการไม่จำกัด
4) สังคมที่คนมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง

44. ปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ ข้อใดถูกต้อง
1) ที่ดิน แรงงาน เครื่องจักร เงินทุน
2) ที่ดิน โรงงาน เงินทุน เจ้าของกิจการ
3) ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
4) ที่ดิน มันสมอง เงินทุน เครื่องจักร
45. ถ้าเราต้องการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงเรื่องใดเป็นอันดับแรก
1) ผลิตอะไร 2) ผลิตอย่างไร
3) ผลิตเพื่อใคร 4) ผลิตจำนวนเท่าไร
46. ถ้าอุปสงค์ในการซื้อน้ำมันมีมากขึ้น ข้อใดถูกต้อง
1) ราคาน้ำมันถูกลง 2) ประชาชนใช้น้ำมันลดลง
3) ราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น 4) จะมีคนซื้อน้ำมันมาใช้แทนสินค้าอื่น
47. ข้อใดผิด
1) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กลไกราคาไม่มีความสำคัญเลย
2) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3) ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้แก้ปัญหาของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม
4) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลจะไม่เข้าไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
แข่งขันกับเอกชน
48. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะระบบเศรษฐกิจของไทย
1) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม
2) เป็นระบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก
3) รัฐบาลดำเนินธุรกิจบางอย่างแข่งกับเอกชน
4) เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ
49. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย คือข้อใด
1) แรงงาน 2) ทุน
3) ตลาด 4) วัตถุดิบ

50. ประเทศไทยมักขาดดุลการค้าเสมอ เพราะสาเหตุใดมากที่สุด
1) สินค้านำเข้าเสียภาษีน้อย
2) สินค้าส่งออกเป็นสินค้าเกษตร
3) มีความต้องการสินค้านำเข้ามาก
4) สินค้าส่งออกของไทยขาดประสิทธิภาพ
51. การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาดุลการค้าขาดดุล คือข้อใด
1) ลดค่าเงินบาท
2) เพิ่มค่าเงินบาท
3) ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น
4) ส่งออกสินค้าเกษตรออกไปต่างประเทศมากขึ้น
52. สถาบันการเงินใดที่ดำเนินการรับฝากและให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลที่เป็นสมาชิก เท่านั้น
1) สหกรณ์ออมทรัพย์ 2) ธนาคารออมสิน
3) ธนาคารพาณิชย์ 4) ธนาคารแห่งประเทศไทย
53. ทุกข้อเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง ยกเว้นข้อใด
1) รับฝากเงินจากหน่วยงานของรัฐบาล
2) เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
3) เป็นแหล่งเงินทุนของธนาคารพาณิชย์
4) รับฝากเงินจากประชาชนทั้งในและต่างประเทศ
54. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
1) ให้กู้เงิน
2) รับฝากเงิน
3) ควบคุมเงินตราระหว่างประเทศ
4) ให้สินเชื่อแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ



55. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหกรณ์ที่สำคัญที่สุด
1) เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลในหมู่สมาชิก
2) ควบคุมความประพฤติของสมาชิก
3) สร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกในท้องถิ่น
4) เพื่อนำเงินทุนของสมาชิกไปแสวงหากำไร
56. ตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์จะมีลักษณะอย่างไร
1) มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก 2) กลไกราคาถือเป็นสิ่งสำคัญ
3) มีสินค้าคุณภาพเหมือนกัน 4) การโฆษณามีผลต่อการซื้อขายสินค้า
57. เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงได้มีการทบทวนแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 8
1) เพราะเกิดความไม่สงบทางการเมือง
2) เพราะเกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมากขึ้น
3) เพราะเกิดวิกฤตการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4) เพราะผลกระทบสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540
58. “สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ” ตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เน้นการพัฒนาสังคม 3 ด้าน คือเรื่องใด
1) เทคโนโลยี คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย
2) สังคมที่มีวินัย มีนวัตกรรม และมีวัฒนธรรม
3) มีจริยธรรม มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เคารพกฎหมาย
4) สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สังคมสมานฉันท์
และเอื้ออาทร
59. ปรัชญาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 คือข้อใด
1) เศรษฐกิจพอเพียง
2) การพัฒนาสังคมชนบท
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4) การพัฒนาทางเศรษฐกิจในกระแสโลกาภิวัฒน์

60. เงินที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1) เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป 2) ต้องกำหนดมูลค่าสินค้าได้
3) เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน 4) ต้องเทียบค่าไว้กับทองคำ
ประวัติศาสตร์
61. ข้อใดกล่าวผิด
1) มนุษย์ยุคโลหะเริ่มที่ทวีปยุโรป
2) มนุษย์ยุคหินใหม่รู้จักการทอผ้า
3) มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักใช้กระดูกและเปลือกหอย
4) มนุษย์ยุคหินใหม่ใช้เครื่องมือหินขัดอย่างประณีต
62. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1) พ.ศ. 2501 ตรงกับ ค.ศ. 1958
2) พ.ศ. 1957 ตรงกับ ค.ศ. 1413
3) พ.ศ. 2001 ตรงกับ ค.ศ. 2544
4) พ.ศ. 2715 ตรงกับ ค.ศ. 2170
63. การสัมภาษณ์ ถือเป็นขั้นตอนใดของวิธีการทางประวัติศาสตร์
1) การนำเสนอข้อมูล
2) รวบรวมหลักฐาน
3) จัดความสัมพันธ์ของข้อมูล
4) การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
64. ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยแตกต่างจากลักษณะการปกครองในปัจจุบัน ในข้อใด
1) สิทธิของประชาชน 2) เสรีภาพของประชาชน
3) หน้าที่ของประชาชน 4) ความเสมอภาคของประชาชน



65. ข้อใดกล่าวถึงการปกครองเมืองลูกหลวงได้ถูกต้อง
1) ส่งรัชทายาทไปปกครอง
2) ส่งขุนนางที่ไว้ใจไปปกครอง
3) ให้เจ้าเมืองเดิมปกครอง
4) ส่งขุนนางผู้ใหญ่ไปปกครอง
66. ข้อใดคือฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
1) เทวราชา 2) เจ้าชีวิต
3) สมมติเทพ 4) ถูกทุกข้อ
67. การเก็บภาษีที่เรียกว่า “จังจอบ” ในสมัยอยุธยามีความหมายตรงกับข้อใด
1) ภาษีจากการประกอบอาชีพต่างๆ
2) สิ่งของที่แลกกับการทำงานให้หลวง
3) ค่าธรรมเนียมจากการติดต่อราชการ
4) การเก็บเงินตามขนาดของพาหนะบรรทุกสินค้า
68. การค้ากับประเทศจีนในสมัยธนบุรีตรงกับข้อใดต่อไปนี้
1) เกลือจิ้มเกลือ
2) น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก
3) ต่างคนต่างใหญ่เสมอภาคกัน
4) ยอมอ่อนน้อมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ
69. ผลงานด้านสังคมที่รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปเพื่อให้คนไทยมีอิสระแก่ตนเอง คือข้อใด
1) เลิกทาส 2) ตั้งโรงเรียน
3) ปฏิรูปกฎหมาย 4) ตั้งมหาวิทยาลัย
70. “เสนาบดี” ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปรียบเทียบได้กับข้อใดในปัจจุบัน
1) รัฐมนตรี 2) นายกรัฐมนตรี
3) รัฐสภา 4) วุฒิสภา


71. การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 7 ข้อใดทำให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1) เพิ่มภาษีราษฎร 2) กำหนดค่าเงินบาทใหม่
3) ปลดข้าราชการออก 4) ลาออกจากองค์การมาตรฐานทองคำ
72. เหตุใดไทยจึงต้องประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2
1) ไทยมีปัญหากับสหรัฐอเมริกา
2) ไทยมีปัญหากับอังกฤษมาก่อน
3) คิดว่าฝ่ายสัมพันธมิตรต้องแพ้สงคราม
4) ไม่สามารถต้านทานอำนาจของญี่ปุ่นได้
73. ปัจจัยใดมีผลทำให้พัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ของโลกแตกต่าง กันมากที่สุด
1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม
2) สภาพความเป็นอยู่และสังคม
3) สภาพการศึกษาและเทคโนโลยี
4) สภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
74. ความสามารถของอารยธรรมโรมันเด่นชัดที่สุดในด้านใด
1) จิตรกรรม 2) วิศวกรรม
3) คหกรรม 4) นาฏกรรม
75. ข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์ของชาวอียิปต์
1) การค้นพบวัคซีน 2) การทำมัมมี่
3) การสร้างพีระมิดเก็บศพ 4) การรักษาผู้ป่วยด้วยสมุนไพร
76. เหตุใดวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ จึงได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ
1) เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
2) ลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน
3) ติดต่อค้าขายกับประเทศอังกฤษ
4) ลักษณะสังคมและเศรษฐกิจคล้ายกัน


77. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน
1) ส่วนใหญ่มีความมั่นคงดีมาก
2) ส่วนใหญ่ปกครองคล้ายระบอบเผด็จการ
3) ส่วนใหญ่ยังคงเป็นอาณานิคมของยุโรป
4) ส่วนใหญ่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
78. ปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาทวีปแอฟริกาคือข้อใด
1) ขาดทรัพยากร
2) ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย
3) ประชากรไม่ยอมรับการพัฒนา
4) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและแห้งแล้ง
79. ข้อใดคือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1
1) การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน
2) ความต้องการเป็นเจ้าโลกของเยอรมัน
3) การสังหารหมู่ชาวยิวด้วยความทารุณ
4) การปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารออสเตรีย - ฮังการี
80. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือข้อใด
1) ระเบิดปรมาณู 2) เกิดโรคระบาด
3) การสูญเสียชีวิตของทหาร 4) การเดินขบวนต่อต้านของประชาชน
ภูมิศาสตร์
81. ข้อใดคือประโยชน์ของแผนที่
1) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเดินทาง
2) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
3) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
4) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาโชคลาภ


82. ข้อใดคือแผนที่ภูมิประเทศ
1) แผนที่แสดงลักษณะภูมิอากาศ
2) แผนที่แสดงข้อมูลทั่วไปบนผิวโลก
3) แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศไทย
4) แผนที่แสดงลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ
83. ประโยชน์ของการศึกษาข้อมูลจากดาวเทียม คือข้อใด
1) สามารถวางแผนโจรกรรมธนาคาร
2) สามารถจับผู้ที่ลักลอบตัดไม้เถื่อน
3) สามารถวางแผนป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ ได้
4) สามารถขุดสมบัติในถ้ำที่ฝังไว้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
84. เส้นขนานหรือเส้นละติจูด มีความสำคัญในด้านภูมิศาสตร์ในเรื่องใด
1) เขตเวลาของโลก 2) เขตอากาศของโลก
3) ระยะห่างจากทะเล 4) พิกัดบนพื้นโลก
85. เพราะเหตุใดบริเวณตอนกลางของประเทศไทยจึงมีประชากรตั้งหลักแหล่ง หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น
1) สภาพพื้นที่ 2) สภาพอากาศ
3) วัฒนธรรมดั้งเดิม 4) ทรัพยากรธรรมชาติ
86. การที่เส้นศูนย์สูตรผ่านประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียนั้นส่งผลต่อภูมิอากาศของ 2 ประเทศนี้อย่างไร
1) น้ำท่วมบ่อยครั้ง 2) ฝนตกชุ่มชื้นตลอดทั้งปี
3) ฝนสลับแล้งอย่างชัดเจน 4) ได้รับผลกระทบจากพายุตลอดปี
87. ป่าไม้ที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในเอเชีย คือข้อใด
1) ป่าไทก้าไซบีเรีย 2) ป่าในเขตศูนย์สูตร
3) ป่าสนเขา 4) ป่าเขตมรสุม


88. ข้อใดถูกต้องที่สุด
1) ปากีสถาน : ไม้สัก 2) บาห์เรน : ดีบุก
3) เวียดนาม : เหล็ก 4) ญี่ปุ่น : ประมง
89. ส่วนที่เชื่อมต่อทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา คือข้อใด
1) ทะเลแดง 2) เทือกเขาอูราล
3) ช่องแคบแบริ่ง 4) คลองสุเอซ
90. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับที่ตั้งของทวีปออสเตรเลีย
1) อยู่ใกล้ทวีปเอเชียมากที่สุด
2) มีพื้นที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรทั้งหมด
3) ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรแอตแลนติก
4) มีเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นผ่านกึ่งกลาง
91. ทุกข้อเป็นพรมแดนที่คั่นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ยกเว้นข้อใด
1) เทือกเขาอูราล 2) เทือกเขาแอลป์
3) ทะเลดำ 4) ทะเลแคสเปียน
92. ขนาดและรูปร่างของทวีปยุโรปมีผลต่อเรื่องใดมากที่สุด
1) อิทธิพลจากน้ำทะเล 2) กระแสน้ำที่ไหลผ่าน
3) ทิศทางลมประจำปี 4) การวางตัวของแนวเทือกเขา
93. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
1) มีความมั่นคงทางการเมืองสูง
2) ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
3) ประชากรมีความรู้ความสามารถ
4) ภูมิอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเขตสะวันนา
94. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ
1) ทางด้านตะวันออกเป็นเทือกเขาหินเก่า คือเทือกเขาคาร์เพเทียน
2) ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาหินใหม่ คือเทือกเขาร็อกกี้
3) แม่น้ำที่สำคัญที่ไหลผ่าน คือแม่น้ำมิสซิสซิปปี้
4) ยอดเขาที่สูงที่สุด คือยอดเขาแมคคินเลย์
95. ทวีปใดตั้งอยู่ทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้
1) ทวีปยุโรป ทวีปออสเตรเลีย 2) ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย
3) ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป 4) ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้
96. ปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้มีอากาศร้อน คือข้อใด
1) ที่ตั้ง 2) ลมประจำที่พัดผ่าน
3) กระแสน้ำที่ไหลผ่าน 4) การวางตัวของเทือกเขา
97. พรมแดนธรรมชาติที่กั้นทวีปแอฟริกากับเอเชีย คือข้อใด
1) แม่น้ำไนล์ 2) ช่องแคบยิบรอลต้า
3) ทะเลแดง 4) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
98. ลักษณะภูมิอากาศแบบใดที่ไม่พบในทวีปแอฟริกา
1) ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
2) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
3) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป
4) ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นมหาสมุทร
99. ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มักจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิด สภาวะโลกร้อนมากขึ้น ถ้านักเรียนเป็นผู้นำรัฐบาล นักเรียนจะมีวิธีการแก้ปัญหา นี้อย่างไร
1) ร่วมหารือกับนานาชาติเพื่อหยุดยั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2) ออกกฎหมายและลงโทษโรงงานที่ทำผิดกฎหมาย
3) ทำตามคำเรียกร้องของเจ้าของโรงงาน
4) เดินรณรงค์ต่อต้านการใช้สาร CFC
100. สนธิสัญญาแรมซาร์เป็นสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับเรื่องใด
1) เพื่อป้องกันการส่งของเสียข้ามแดน
2) เพื่ออนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำ
3) เพื่อต้องการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
4) เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน

แนวข้อสอบชุด ๓

แนวข้อสอบ
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จำนวน 100 ข้อ)

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
1. “ศาสนา” มีความหมายที่ตรงกับข้อใดมากที่สุด
1) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์
2) คำสอนที่ให้มนุษย์ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดี
3) เหตุแห่งการเกิดพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์
4) การยึดมั่นอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ
2. ศาสนาในข้อใดเป็นศาสนาอเทวนิยม
1) ศาสนาคริสต์ 2) ศาสนาพราหมณ์
3) ศาสนาพุทธ 4) ศาสนาอิสลาม
3. พระพุทธศาสนา สอนให้คนไทยมีหลักความเชื่อในข้อใด
1) ความมีเมตตากรุณา 2) การไม่อาฆาตจองเวร
3) กรรมและผลของกรรม 4) ความละอายต่อบาปทั้งปวง
4. พระสารีบุตรทำหน้าที่อะไรในการบวชพระราหุล
1) เป็นพระอุปัชฌาย์ 2) เป็นพระคู่สวด
3) เป็นพระพี่เลี้ยง 4) เป็นหนึ่งในคณะสงฆ์
5. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับพระโมคคัลลานะ
1) เป็นพระอุปัชฌาย์บวชพระราหุล
2) เกิดความง่วงในขณะปฏิบัติธรรม
3) เป็นผู้มีความกตัญญูเป็นเลิศ
4) เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ

6. พระไตรปิฎกที่จารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนบริเวณเชิงเขาเมืองมัณฑเลย์ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์พระองค์ใดของพม่า
1) พระเจ้ามินดง 2) พระเจ้าปะดุง
3) พระเจ้าบุเรงนอง 4) พระเจ้าอโนรามังช่อ
7. พระพุทธศาสนาเข้าสู่กัมพูชาเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด
1) พระเจ้าชัยวรมัน 2) พระเจ้านโรดมสีหนุ
3) พระเจ้าสุริยชัยวรมัน ที่ 1 4) พระเจ้าชัยสุริยวรมัน
8. พระพุทธรูปปางห้ามญาติมีลักษณะตามข้อใด
1) พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ซ้ายและขวาขึ้น
2) พระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นข้างเดียว
3) พระพุทธรูปนั่ง ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นข้างเดียว
4) พระพุทธรูปนั่ง ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นข้างเดียว
9. พระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างขึ้นในพุทธประวัติตอนใด
1) แสดงธรรมครั้งแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
2) ประทับนั่ง ณ ริมแม่น้ำเนรัญชรา ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3) เสด็จโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
4) เสด็จโปรดพระบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์
10. นักเรียนคิดว่า ตัวละครที่ชื่อแดจังกึม มีคุณธรรมข้อใดที่ตรงกับหลัก ทิฏฐธัมมิกัตถะมากที่สุด
1) อุฏฐานสัมปทา 2) กัลยาณมิตตตา
3) อารักขสัมปทา 4) สมชีวิตา
11. ศาสนาอิสลามมีการบริจาคสิ่งของให้กับผู้อื่นที่เรียกว่า ซะกาต ซึ่งตรงกับหลักธรรมเรื่องสัมปรายิกัตถะข้อใด
1) สัทธาสัมปทา 2) จาคสัมปทา
3) สีลสัมปทา 4) ปัญญาสัมปทา


12. เครื่องหมายในข้อใดเรียกว่านิคหิต
1) ฯ 2) ํ
3) . 4) ั
13. ปรัตถะ อ่านว่าอย่างไร
1) ปะ - รัด - ถะ 2) ปะ - รัด - ตะ - ถะ
3) ปะ - ระ - รัต - ถะ 4) ปะ - รัด - ตะ - ถัง
14. จากข้อ 13 หมายความว่าอย่างไร
1) ประโยชน์ตนเอง 2) ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
3) ประโยชน์ผู้อื่น 4) ประโยชน์ในอนาคต
15. หากนักเรียนหญิงจำเป็นต้องนั่งเก้าอี้เดียวกับพระสงฆ์ ควรนั่งอย่างไร
1) นั่งหันข้างให้พระ 2) ให้ผู้ชายนั่งคั่นกลาง
3) นั่งหันหลังให้พระ 4) นั่งติดพระได้เลยเพราะจำเป็น
16. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
1) กราบโดยให้เข่าทั้ง 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และหน้าผากจรดพื้น 3 ครั้ง
2) กราบโดยให้ขา 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และหน้าผากจรดพื้น 3 ครั้ง
3) กราบโดยใช้เข่า 2 ข้าง แขน 2 ข้าง และมืดจรดพื้น 3 ครั้ง
4) กราบโดยให้ขาทั้ง 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และแขนจรดพื้น 2 ครั้ง
17. การถวายทานแก่ผู้ใดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลมากที่สุด
1) พระพุทธเจ้า 2) เจ้าอาวาส
3) พระอริยสงฆ์ 4) พระสงฆ์โดยไม่เจาะจง
18. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการบริหารจิตไม่ถูกต้อง
1) เป็นการบำรุงรักษาจิตให้มีความเข้มแข็ง
2) เป็นการทำให้จิตมีพลังและมีประสิทธิภาพ
3) เป็นการทำให้จิตสงบจดจ่อต่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว
4) เป็นการทำให้จิตใจอ่อนไหวไม่หยาบกระด้าง สามารถแปรเปลี่ยนได้รวดเร็ว

19. วิธีการฝึกจิตแบบอานาปานสติเป็นการฝึกแบบใด
1) กำหนดลมหายใจเข้าออก 2) ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
3) พิจารณาธาตุ 4 4) เพ่งเปลวเทียน
20. ในปีที่มีอธิกมาส วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันใด
1) วันเพ็ญกลางเดือน 3 2) วันเพ็ญกลางเดือน 7
3) วันเพ็ญกลางเดือน 6 4) วันเพ็ญกลางเดือน 8
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
21. เอกรินทร์มาโรงเรียนแต่เช้า ทุกวันเขาจะทำความสะอาดห้องเรียน และทิ้งขยะเป็น ประจำ การกระทำของเอกรินทร์สอดคล้องกับการเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน ข้อใด
1) ความรับผิดชอบ 2) เสียสละเพื่อส่วนรวม
3) ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน 4) ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของโรงเรียน
22. การกระทำใดแสดงให้เห็นถึงการเป็นพลเมืองดีด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
1) จ๋า ชอบไปเที่ยวอยุธยา
2) โจ้ ชอบกินข้าวหมูแดงนครปฐม
3) แจ๋ว ซื้อตะกร้าไม้ไผ่จากกาญจนบุรี
4) แจ๋ม นำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟ
23. ข้อดีของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือข้อใด
1) เหมาะกับประเทศยากจน 2) ประหยัดค่าใช้จ่าย
3) ระงับข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี 4) ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
24. หน้าที่สำคัญของรัฐสภาคือข้อใด
1) บัญญัติกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย
2) ควบคุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
3) แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
4) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

25. ข้อใดจัดเป็นกฎหมายมหาชน
1) กฎหมายปกครอง 2) กฎหมายแพ่ง
3) กฎหมายพาณิชย์ 4) กฎหมายระหว่างประเทศ
26. ข้อใดให้ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยเหมาะสมที่สุด
1) การใช้สิทธิเลือกตั้ง
2) การใช้สิทธิและเสรีภาพโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
3) ความสามัคคีในการอยู่ร่วมกัน
4) ระบอบการปกครองและการดำเนินชีวิตที่สนองความต้องการของประชาชน
27. การลงบัญชีทหารกองเกิน ให้ไปแสดงตนเมื่ออายุเท่าใด
1) ย่างเข้าปีที่ 18 2) ย่างเข้าปีที่ 20
3) ย่างเข้าปีที่ 21 4) ย่างเข้าปีที่ 25
28. “เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้แก่ข้อใด
1) พื้นที่ต้นน้ำลำธาร 2) เขตน้ำบาดาล
3) เขตควบคุมมลพิษ 4) เขตแหล่งน้ำธรรมชาติชายทะเล
29. การซ่อมแซมต่อเติมโบราณสถานต้องได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากใคร
1) ผู้ใหญู่บ้าน 2) นายอำเภอ
3) เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่นั้น 4) อธิบดีกรมศิลปากร
30. ไก่กู้เงินก้อย เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่มีกบเป็น พยานรู้เห็น โดยกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นเวลา 2 ปี เมื่อครบกำหนด ไก่ต้องเสียดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นเท่าใด
1) 1,075 บาท
2) 1,175 บาท
3) 1,250 บาท
4) ไม่ต้องชำระก็ได้เพราะไม่มีหนังสือเงินกู้


31. หลักการเช่าทรัพย์ ข้อใดกล่าวผิด
1) เช่าสัตว์พาหนะไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
2) เช่ารถยนต์ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
3) เช่าเรือกำปั่นขนาดใหญ่ต้องมีหลักฐานหนังสือเช่า
4) เช่าห้องพักต้องมีหลักฐานหนังสือเช่า
32. ข้อใดเรียงโทษทางอาญาจากสูงสุดถึงต่ำสุดถูกต้อง
1) ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์
2) ประหารชีวิต กักขัง จำคุก ปรับ ริบทรัพย์
3) ประหารชีวิต จำคุก ปรับ กักขัง ริบทรัพย์
4) ประหารชีวิต จำคุก ริบทรัพย์ กักขัง ปรับ
33. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็ก
1) อายุไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องรับโทษ
2) อายุเกินกว่า 7 ปี ไม่เกิน 14 ปี ต้องรับโทษ
3) อายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี อยู่ในการวินิจฉัยของศาล
4) อายุเกินกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ศาลให้ลดโทษได้หนึ่งในสาม
34. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับประเพณีในจังหวัดต่างๆ
1) วิ่งควาย - ชลบุรี 2) ผีตาโขน - สุรินทร์
3) ประเพณีชักพระ - นครศรีธรรมราช 4) พิธีไหลเรือไฟ - นครพนม
35. พิธีใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์
1) การผูกเสี่ยว 2) เลี้ยงผีปู่ย่า
3) ตั้งศาลพระภูมิ 4) ประเพณีสืบชะตาคน
36. การใช้สิทธิของประชาชน ข้อใดถูกต้อง
1) การปลูกบ้านอยู่อาศัยในเขตป่าสงวน
2) การปลูกสร้างรีสอร์ต ล้ำไปในแม่น้ำเพื่อความสวยงาม
3) การฟ้องร้องต่อศาลเมื่อไม่ได้รับความพอใจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4) การรับซื้อสินค้าที่ไม่ผ่านด่านศุลกากร

37. ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางสถาบันใด
1) รัฐบาล 2) รัฐสภา
3) ศาล 4) คณะกรรมการตุลาการ
38. การตัดสินคดีความที่ถือว่าถึงที่สุดแล้ว ไม่มีการฟ้องร้องได้อีกต่อไป คือคดีที่ เกิดขึ้นในศาลใด
1) ศาลแพ่ง 2) ศาลแขวง
3) ศาลอาญา 4) ศาลฎีกา
39. เสรีภาพของนักเรียนในปัจจุบัน คือเสรีภาพด้านใด
1) การร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
2) การศึกษา
3) การประกอบอาชีพ
4) การเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย
40. ประชาธิปไตยควรเริ่มต้นที่ใดก่อนเป็นอันดับแรก
1) ครอบครัว 2) อนุบาล
3) ประถม 4) มหาวิทยาลัย
เศรษฐศาสตร์
41. ทุกข้อเป็นลักษณะเศรษฐกิจแบบมหภาค ยกเว้นข้อใด
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง 4.5%
2) ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากอีกร้อยละ 0.2
3) ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการพยุงค่าเงินบาท
4) ราคาน้ำมันเบนซินลดลง 40 สตางค์ ส่งผลให้คนเติมน้ำมันเพิ่มขึ้น
42. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยรัฐบาล
1) รักษากฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
2) แสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบการ
3) คุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคล
4) สนับสนุนร่วมมือกับหน่วยเศรษฐกิจอื่นๆ

43. เป้าหมายของหน่วยธุรกิจแตกต่างกับหน่วยรัฐบาลในข้อใด
1) แรงงาน 2) ความเป็นธรรม
3) การแสวงหากำไร 4) ประสิทธิภาพการจัดการ
44. ถ้าการบริโภคลดลง จะส่งผลอย่างไร
1) การผลิตลดลง 2) การผลิตเพิ่มขึ้น
3) ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 4) ผู้ผลิตเพิ่มจำนวนขึ้น
45. ทุกข้อเป็นปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ ยกเว้นข้อใด
1) ราคาของสินค้าและบริการ 2) ระดับรายได้ของผู้บริโภค
3) จำนวนผู้ขาย ผู้ผลิต 4) รสนิยมของผู้บริโภค
46. ถ้านักเรียนมีเงินอยู่หนึ่งก้อน โดยมีกำหนดที่จะใช้อีก 2 ปีข้างหน้า นักเรียนควร นำเงินไปฝากธนาคารโดยเปิดบัญชีประเภทใด
1) ออมทรัพย์ 2) ประจำ
3) กระแสรายวัน 4) เงินฝากจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
47. สินค้าในตลาดจะมีราคาสูงขึ้น เพราะสาเหตุใด
1) อุปสงค์มากเกินไป
2) สินค้าเป็นที่ตลาดต้องการน้อย
3) อุปทานล้นตลาด
4) ปริมาณสินค้ามากเกินไป
48. “อรดี ซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งแล้วพบว่า สินค้าที่ตนซื้อมาหมดอายุ และราคาแพงกว่าท้องตลาด” ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้บริโภค นักเรียนจะจัดการ กับเรื่องนี้อย่างไร
1) นำสินค้าที่หมดอายุไปทิ้ง
2) อยู่เฉยๆ เพราะยุ่งยาก
3) แจ้ง สคบ. เพื่อให้ดำเนินการกับห้างสรรพสินค้า
4) บอกกับเพื่อนๆ ไม่ให้ไปซื้อสินค้าของห้างสรรพสินค้านั้น


49. นักเรียนคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มสหกรณ์ ในชุมชน คือข้อใด
1) ความรับผิดชอบ
2) ความอดทนในการทำงาน
3) ประสบการณ์จากการทำงาน
4) ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
50. กลไกใดในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของ ระบบเศรษฐกิจ
1) ระบบภาษี 2) ระบบการค้า
3) ระบบราคา 4) ระบบธนาคาร
51. “ประเทศ ก. เอกชนสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต และมีเสรีภาพ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนประเทศ ข. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการ ผลิตทุกอย่าง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม” นักเรียนคิดว่า ประเทศ ก. และประเทศ ข. มีลักษณะแบบใด
1) สังคมนิยม ผสม 2) ผสม สังคมนิยม
3) คอมมิวนิสต์ ผสม 4) ทุนนิยม คอมมิวนิสต์
52. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มักมีเป้าหมายที่สำคัญตามข้อใด
1) ร่วมมือแข่งขันกันผลิตสินค้าในกลุ่มสมาชิก
2) ร่วมมือกำหนดระบบภาษีศุลกากรให้แตกต่างกันในกลุ่มสมาชิก
3) ร่วมมือการยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าให้กลุ่มสมาชิก
4) ร่วมมือกำหนดนโยบายเศรษฐกิจให้แตกต่างกันตามสภาพประเทศของ
กลุ่มสมาชิก
53. เมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น รัฐบาลจะออกมาตรการใดออกช่วยเหลือ เกษตรกร
1) การกำหนดราคาขั้นต่ำ 2) การกำหนดราคาขั้นสูง
3) การกำหนดราคาดุลยภาพ 4) การกำหนดอัตราภาษีแบบก้าวหน้า

54. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
1) ออกธนบัตรใหม่แทนธนบัตรเก่าที่ชำรุด
2) รับฝากเงินและถอนเงินจากประชาชน
3) กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
4) เป็นตัวแทนการเงินของรัฐบาล
55. กิจกรรมในข้อใดที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการผลิตในขั้นบริการมากที่สุด
1) การเลี้ยงสัตว์ 2) การเพาะปลูก
3) การซื้อผ้ามาตัดเสื้อ 4) การเงินและการธนาคาร
56. ข้อใดเป็นการแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจของประเทศที่เจริญแล้ว
1) การใช้สินเชื่อ 2) การใช้สินค้าแลกสินค้า
3) การใช้ระบบเงินผ่อน 4) การใช้แรงงานทดแทน
57. ข้อใดเป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้วัดระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
1) ดัชนีสังคม 2) รายได้ต่อบุคคล
3) ราคาดุลยภาพ 4) ผลิตภัณฑ์ประชากรเบื้องต้น
58. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
1) ลดการเพิ่มจำนวนประชากร
2) สร้างมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค
3) สร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในชนบท
4) สร้างขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
59. สาเหตุที่ทำให้แต่ละประเทศเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือข้อใด
1) ระบอบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกัน
2) เพื่อการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน
3) ความต้องการระดมเงินทุนจากต่างประเทศ
4) ความต้องการเงินสกุลดอลลาร์จากต่างประเทศ
60. ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศองค์การใด
1) กลุ่มเอเปค 2) กลุ่มประเทศ G 8
3) องค์การการค้าโลก 4) เขตการค้าเสรีอาเซียน
ประวัติศาสตร์
61. เกณฑ์สำคัญใดที่ใช้ในการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์
1) ช่วงเวลา 2) การสร้างที่อยู่อาศัย
3) ตัวอักษร 4) เครื่องมือ เครื่องใช้
62. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1) พ.ศ. 2505 ตรงกับ ค.ศ. 1962
2) พ.ศ. 1928 ตรงกับ ค.ศ. 1386
3) พ.ศ. 2814 ตรงกับ ค.ศ. 2271
4) พ.ศ. 1425 ตรงกับ ค.ศ. 1968
63. การสำรวจข้อมูลทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง เป็นขั้นตอนใดของ วิธีการของประวัติศาสตร์
1) การสังเคราะห์ข้อมูล
2) การรวบรวมหลักฐาน
3) การประเมินค่าหลักฐาน
4) การจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล
64. การที่กรุงสุโขทัยตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรล้านนาและอยุธยา เราจึงเปรียบได้ว่า สุโขทัยคืออะไร
1) รัฐกันชน 2) รัฐบรรณาการ
3) รัฐรับรองอำนาจ 4) รัฐสัมพันธ์
65. หัวเมืองประเภทใดที่อยู่ใกล้ราชธานีมากที่สุด
1) หัวเมืองชั้นนอก 2) หัวเมืองประเทศราช
3) เมืองพระยามหานคร 4) เมืองลูกหลวง
66. การค้าระหว่างอยุธยาและจีนเป็นการค้าในรูปแบบใด
1) การค้าเครื่องเทศ 2) การค้าของหายาก
3) การค้าระบบบรรณาการ 4) การค้าเรือกลไฟ

67. ภารกิจสำคัญอันดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราช คือข้อใด
1) การค้ากับจีน
2) การฟื้นฟูการทำนา
3) การควบคุมกำลังพลอย่างเข้มงวด
4) การรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น
68. “จิ้มก้อง” มีความหมายตรงกับข้อใด
1) เรือสินค้าของจีน
2) ภาษีการค้าของจีน
3) สินค้าแลกเปลี่ยนของจีน
4) ระบบรัฐบรรณาการของจีน
69. สินค้าที่เราต้องการจากชาติตะวันตกในสมัยธนบุรี คือข้อใด
1) อาวุธปืน 2) เครื่องเทศ
3) อัญมณี 4) อาหารประเภทต่างๆ
70. ข้อดีของรัตนโกสินทร์ที่รัชกาลที่ 1 ทรงเลือกเป็นเมืองหลวง คือข้อใด
1) เป็นเมืองเล็กรักษาง่าย
2) มีแม่น้ำผ่ากลางอุดมสมบูรณ์
3) มีวัดอยู่แล้วไม่ต้องสร้างใหม่
4) มีน้ำเป็นพรมแดนป้องกันข้าศึก
71. ข้อใดไม่ใช่สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบอร์นี
1) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยเท่านั้น
2) สามารถขายอาวุธปืนให้ประชาชนได้
3) พ่อค้าตะวันตกต้องเสียภาษีตามประเพณีไทย
4) ห้ามนำข้าวเปลือก ข้าวสารออกนอกอาณาจักร
72. กระทรวงเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
1) รัชกาลที่ 3 2) รัชกาลที่ 4
3) รัชกาลที่ 5 4) รัชกาลที่ 6

73. ข้อใดคือความหมายของ “ดุสิตธานี” ในสมัยรัชกาลที่ 6
1) สุขาภิบาลแห่งแรกของไทย
2) โรงละครที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น
3) สวนสาธารณะสำหรับประชาชน
4) เมืองทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย
74. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือข้อใด
1) เศรษฐกิจตกต่ำ
2) แนวคิดจากตะวันตก
3) อยากให้ไทยทัดเทียมกับต่างประเทศ
4) ความขัดแย้งระหว่างสามัญชนกับพระราชวงศ์
75. จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก คือข้อใด
1) เข้าใจการใช้ชีวิตของมนุษย์ในอดีต
2) เข้าใจลักษณะร่วมของอารยธรรมทั่วโลก
3) รู้ความเป็นมาของมนุษย์ในภูมิภาคทั่วโลก
4) เข้าใจการสืบเนื่องของอารยธรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน
76. จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในการครอบครองดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของชาติตะวันตกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 - 24 คือข้อใด
1) เผยแพร่ศาสนาคริสต์
2) ประสานความขัดแย้งของอาณาจักรเดิม
3) ควบคุมเมืองท่าและแหล่งผลิตเครื่องเทศ
4) การพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่
77. การที่ประเทศลาวตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่มีทางออกทะเล ส่งผลดีอย่างไร
1) การค้าภายในประเทศเฟื่องฟู
2) รักษาวัฒนธรรมของตนได้เหนียวแน่น
3) การรับรู้ข่าวสารภายในประเทศชัดเจน
4) ควบคุมประชากรออกนอกประเทศได้ง่าย

78. อารยธรรมจีนปรากฏเด่นชัดที่สุดในประเทศใด
1) ลาว 2) ไทย
3) เวียดนาม 4) กัมพูชา
79. ชาติยุโรปที่ให้การสนับสนุนการเดินทางสำรวจดินแดนอาณานิคมในช่วงแรก มากที่สุด คือข้อใด
1) อังกฤษและสหรัฐอเมริกา 2) อิตาลีและกรีซ
3) สเปนและโปรตุเกส 4) เนเธอแลนด์และฝรั่งเศส
80. จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด
1) การค้า 2) สันติภาพ
3) การป้องกันความรุนแรง 4) การสลายสงครามเย็น
ภูมิศาสตร์
81. ในการศึกษาการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำจำเป็นต้องใช้แผนที่ในข้อใดเพื่อทำการศึกษา
1) แผนที่ภูมิประเทศ เพราะเป็นแผนที่บอกถึงความสูงต่ำของสถานที่นั้นๆ
2) แผนที่ทางหลวง เพราะบอกเส้นทางต่างๆ ทำให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก
3) แผนที่ท่องเที่ยว เพราะเป็นแผนที่ที่บอกเส้นทางและสถานที่ในสถานที่นั้นๆ
4) แผนที่ยุทธศาสตร์ เพราะจะทำให้เรารู้ความเคลื่อนไหวของพื้นที่นั้นๆ
82. ข้อใดคือองค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
1) ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ GPS คอมพิวเตอร์ บุคลากร
2) ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูลกระบวนการวิเคราะห์
3) ฮาร์ดแวร์ ข้อมูล บุคลากร ภาพถ่ายดาวเทียม กระบวนการวิเคราะห์
4) ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ บุคลากร
83. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1) ดาวเทียม Landsat ใช้สำรวจทรัพยากร
2) GPS คือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
3) ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
4) ระบบการบันทึกของดาวเทียมประกอบด้วยระบบ Passive และ Active

84. เมื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมพบว่ามีสีน้ำเงินเข้ม ข้อมูลที่นักเรียนได้นี้คือสิ่งใด
1) น้ำลึก 2) น้ำตื้น
3) เงาต้นไม้ 4) สาหร่ายในแม่น้ำ
85. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา
1) มีกระแสน้ำเบงกาลีไหลผ่าน
2) มีอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก
3) ด้านตะวันตกสูงมากกว่าด้านตะวันออก
4) ตั้งอยู่ระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้
86. ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของทวีปแอฟริกาที่ทำรายได้มหาศาล คืออะไร
1) ทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเฉพาะเหล็ก
2) ทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเฉพาะรัตนชาติ
3) ทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำไนล์
4) ทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำแซมเบซี
87. “แผ่นดินของยุโรปที่ต่อเนื่องจากทวีปเอเชีย” เรียกว่าอะไร
1) ยูโธเปีย 2) ยูเรเชีย
3) ลอเรนซ์ 4) ออสตราเลเซีย
88. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง
1) ทะเลสาบทั้ง 5 2) ฟยอร์ดในฟินแลนด์
3) หุบเขารูปตัวยูในแคนาดา 4) น้ำพุร้อนในสหรัฐอเมริกา
89. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ภาคเหนือของทวีปเอเชียมีประชากรอาศัยอยู่อย่าง เบาบาง คือข้อใด
1) อากาศหนาวเย็น 2) เศรษฐกิจไม่เติบโต
3) ดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก 4) การคมนาคมไม่สะดวก



90. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย
1) อบอุ่นชื้น - ไทย กัมพูชา
2) ร้อนชื้น - มาเลเซีย อินโดนีเซีย
3) มรสุมเขตร้อน - อินเดีย ศรีลังกา
4) ทุนดรา - ตอนเหนือของรัสเซีย
91. สาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ในทวีปเอเชียลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว คือข้อใด
1) การลักลอบตัดไม้
2) การขยายพื้นที่เพาะปลูก
3) การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
4) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
92. ข้อใดสามารถสรุปลักษณะภูมิประเทศของประเทศออสเตรเลียได้ถูกต้องที่สุด
1) เป็นที่ราบระหว่างหุบเขาสูง
2) มีภูเขาสูงตอนกลางของทวีป
3) เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่
4) ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและทะเลทราย
93. การแก้ปัญหาโลกร้อนและน้ำแข็งขั้วโลกละลายของประเทศออสเตรเลีย คือข้อใด
1) รณรงค์ปลูกป่า
2) ลดการใช้สารเคมี
3) ป้องกันมลพิษด้านต่างๆ
4) ออกกฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวด
94. วิธีการลดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่ดีอย่างหนึ่ง คือ ลดการใช้สาร CFC แต่จะได้ผลดี ต้องปลูกฝังในเรื่องใด
1) ความเมตตา 2) ความมีน้ำใจ
3) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4) ค่านิยม
95. การที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากสาเหตุใด
1) สภาวะอากาศที่ร้อนขึ้น 2) การใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลัง
3) การขาดการดูแลจากรัฐบาล 4) การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว
96. ทุกข้อคือผลกระทบที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ยกเว้นข้อใด
1) ระดับน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น
2) ระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย
3) การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเพิ่มขึ้น
4) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก
97. ข้อใดคือการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด
1) การใช้ถุงพลาสติกเพื่อลดการใช้กระดาษ
2) การทิ้งสารเคมีลงในแม่น้ำโดยใช้ธรรมชาติบำบัด
3) การตัดไม้และระเบิดหินเพื่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ
4) การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
98. “ประเทศไทยมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการอุปโภค บริโภคและการคมนาคม ส่วนในทวีปยุโรปประชากรส่วนใหญ่จะตั้งห่างจาก แหล่งน้ำ” นักเรียนคิดว่ามีสาเหตุมาจากข้อใด
1) กลัวอันตรายจากสัตว์ต่างๆ ที่มาจากน้ำ
2) ที่อยู่อาศัยมีอยู่มาก จึงไม่ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
3) ต้องการรักษาแหล่งน้ำไม่ให้มีการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูลต่างๆ
4) ต้องการตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ถนนเพราะสะดวกกว่าการคมนาคมทางน้ำ
99. ข้อใดเป็นวิธีการอนุรักษ์น้ำที่เหมาะสมกับบทบาทของการเป็นนักเรียนมากที่สุด
1) การใช้น้ำอย่างประหยัด 2) การรักษาสภาพป่าให้สมบูรณ์
3) การบำบัดน้ำเสียของโรงงาน 4) การหาแหล่งน้ำใหม่ให้เพียงพอ
100. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า การอนุรักษ์ที่สมบูรณ์เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน มากที่สุด
1) การใช้อย่างประหยัด
2) การใช้และการพัฒนาให้อยู่ในสภาพสมดุล
3) การใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
4) การใช้และการคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด