12 พฤศจิกายน 2561

ช่างปูนเบื้องต้น


งานปูนเบื้องต้น
ลักษณะและชนิดของงานปูน                        
            1.1 ลักษณะของงานปูน
            งานปูนเป็นแขนงหนึ่งของงานก่อสร้าง  ซึ่งมีความสำคัญในงานก่อสร้าง ปัจจุบันงานปูนเป็นงานหนักและคงทนต่อดินฟ้าอากาศ  งานปูนสร้างโดยวัสดุที่ทำขึ้นจากสิ่งที่ได้จากธรรมชาติและวัสดุที่ได้จากธรรมชาติผสมกัน 
งานปูน มีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบ   เช่น  ในรูปของ คอนกรีต ปูนก่อ ปูนถือ หินขัด หินล้าง เป็นต้น
             1.2 ชนิดของงานปูน
     แบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
     1. ช่างปูนโครงสร้าง
     2. ช่างปูนประณีต
     3. ช่างปูนก่อสร้างและบูรณะ
     4. ช่างปูนเฟอร์นิเจอร์
     5. ช่างปูนสุขภัณฑ์
     6. ช่างปูนชั่วคราว
 2 ประโยชน์ที่ได้รับจากงานปูน
       ชนิดของงานปูน
     แบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
     1. ช่างปูนโครงสร้าง
     2. ช่างปูนประณีต
     3. ช่างปูนก่อสร้างและบูรณะ
     4. ช่างปูนเฟอร์นิเจอร์
     5. ช่างปูนสุขภัณฑ์
     6. ช่างปูนชั่วคราว
  ประโยชน์ที่ได้รับจากงานปูน
             ประโยชน์โดยทั่วไป

          1.  สถาปนิก  สถาปนิกที่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานปูนดี จะใช้ประโยชน์ที่ได้ไป design แบบของเขาซึ่งจะใช้แบบต่างๆ ของงานปูนนั้น ณ ที่ใดๆ  จึงจะเกิดประโยชน์
          2.  วิศวกร  จะใช้ประโยชน์ที่ได้รับจากงานปูนในการคำนวณหาความแข็งแรงของโครงสร้าง เพื่อประโยชน์ในการใช้ให้เหมาะสม
          3.  ช่างเขียนแบบ ช่างเขียนแบบที่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานปูนดี ย่อมเขียนแบบของเขาได้ดีและถูกต้อง
          4. ผู้ตรวจงาน สำหรับผู้ตรวจงานนี้จะนำความรู้เกี่ยวกับงานปูนไปใช้ในงานตรวจงานก่อสร้างอันเกี่ยวกับงานปูนได้ดีและสามารถตรวจงานได้อย่างถูกต้องตามแบบนั้น
          5. ผู้เขียนรายการ   ผู้เขียนรายการที่รู้เรื่องเกี่ยวกับงานปูนดีย่อมจะเขียนรายงานเกี่ยวกับงานปูนได้ถูกต้องว่าจะทำอย่างไร
          6. ช่างปูน  ช่างปูนที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงานปูนย่อมสามารถปฏิบัติงานของเขาได้ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ
 ประโยชน์โดยตรง
            1. ในด้านความคงทนแข็งแรง  จะเห็นได้ว่างานปูนเป็นงานที่คงทนต่อดินฟ้าอากาศได้ดี คงทนและถาวร ในระยะยาวนาน เช่น ถนนคอนกรีต อนุสาวรีย์ สะพานคอนกรีตตลอดจนตึกหลาย ๆ  ชั้นเป็นต้น
2. ในด้านรูปร่างและความสวยงาม จะเห็นได้ว่างานปูนนั้น เราสามารถทำเป็นรูปต่างๆ ได้ตามความต้องการ เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งยังทำลวดลายอื่น ๆ ได้อีก เช่น การทำบัว หินขัดหินล้าง ลายหินอ่อนเทียม เป็นต้น
             3. ในด้านเป็นวัสดุทนไฟ ทั้งนี้จะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี
            4. ในด้านการประหยัดเนื่องจากคุณสมบัติในด้านความทนทาน แข็งแรง จึงเป็นการประหยัดในด้านก่อสร้างไปในตัว

4.3  เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับงานปูนและเก็บรักษา
            เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ในการทำงานเกี่ยวกับช่างปูนนั้นมีมากมายหลายอย่างซึ่งพอจะกล่าวได้พอสังเขปเฉพาะที่สำคัญดังนี้
            4.3.1 จอบและพลั่ว
             ใช้ขุดดินและผสมคลุกเคล้าส่วนผสมซึ่งได้แก่ ปูน ทราย ให้เข้ากัน การเก็บรักษาหลังจากเลิกใช้งานแล้วต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง      เพราะถ้าไม่ล้างให้สะอาดแล้วส่วนผสมก็จะเกาะมากขึ้น ๆ ทุกทีทำให้เครื่องมือชำรุดได้ง่าย
            4.3.2 ตะแกรงร่อน
              ใช้ร่อนทรายและปูนขาวที่สกปรกหรือเป็นกากออก  เพราะบางครั้งอาจจะมีสิ่งสกปรกเจือปนมากับทราย เช่น เปลือกหอยหรือหิน จำเป็นจะต้องทำให้สะอาดเสียก่อนโดยการใช้ตะแกรงร่อน ตะแกรงมีหลายขนาดแล้วแต่ลักษณะของงานนั้น ๆ
            4.3.3 ไม้เมตร
               ใช้วัดขนาดหรือระยะต่าง    ตามแบบ  การใช้ต้องระวังอย่าให้ตก  และต้องรักษาให้สะอาดเสมอ ถ้าเป็นเหล็กหลังจากทำความสะอาดแล้วควรชะโลมด้วยน้ำมัน
            4.3.4  เกรียง
               เกรียงมีหลายชนิดที่สำคัญซึ่งใช้กับงานนั้นมีดังนี้
               .เกรียงเหล็ก มีทั้งชนิด 3 เหลี่ยมและ 4 เหลี่ยม สำหรับเกรียงชนิด 3 เหลี่ยมใช้ในงานก่ออิฐ ชนิด 4 เหลี่ยมใช้สำหรับขัดมันและใช้ตีปูนขัดมันหรือตบแต่งผิวปูนฉาบในขั้นสุดท้าย

               .เกรียงไม้    ได้แก่เกรียงที่ทำด้วยไม้ใช้สำหรับตบแต่งหรือกดปูนให้เรียบ เช่นแต่งพื้นหรือฉาบปูน
               การเก็บรักษาเกรียงก็เช่นเดียวกันกับเครื่องมือชนิดอื่น     คือหลังจากใช้แล้วต้องล้างให้สะอาด
            4.3.5 กะบะไม้ถือปูน
               ส่วนมากใช้ใส่ปูนก่อและปูนถือ     โดยตักจากถังผสมปูนมาใส่ในกะบะใส่ปูนอีกทีหนึ่ง
            4.3.6 ถังน้ำหรือกระป๋องใส่ปูน
               ใช้สำหรับใส่ปูนที่ผสมแล้ว   นอกจากนี้ยังใช้หิ้วปูนและใช้ตวงส่วนผสมได้ด้วย เลิกใช้ต้องล้างให้สะอาด
            4.3.7 ปุ้งกี๋
               ใช้ใส่หรือตวง หิน ทราย ในการผสมปูน

เครื่องมือช่างปูนพื้นฐาน
07/06/2016 admin  Off  ทั่วไป,
สวัสดีค่ะ วันนี้เราต้องมาทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยว เครื่องมือช่างปูนพื้นฐาน กับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมแก้ไขสิ่งในบ้านที่ชำรุด เสียหาย หรือสร้างสิ่งของง่ายๆ  นอกจากนี้ยังช่วยในการต่อเติมซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง และ เหมาะสำหรับงานที่จัดหาวัสดุนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมเราลองชมด้านล้างได้เลยค่ะ
1. เกรียงไม้ เป็นอุปกรณ์งานปูนที่จำเป็นที่สุดเพราะต้องใช้ในการฉาบปูน ถ้าใช้เกรียงไม้ก็ควรแช่น้ำก่อนซักครู่ใช้สำหรับตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ เช่นแต่งพื้นหรือฉาบปูน การเก็บรักษาเกรียงไม้ก็โดยล้างให้สะอาดหลังจากการใช้งานแล้ว
คำอธิบาย: เกรียงไม้
2. เกรียงเหล็ก เกรียงเหล็กจะใช้สำหรับงานก่อ เช่นใช้ก่ออิฐ และตกแต่งงานก่อ มีทั้งชนิดสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม สำหรับชนิดสามเหลี่ยม ใช้ในงานก่ออิฐ ชนิดสี่เหลี่ยมใช้สำหรับขัดมันและใช้ตีเส้นปูนขัดมัน หรือตกแต่งผิวปูนฉาบในขั้นสุดท้าย
คำอธิบาย: เกรียงเหล็ก
3. เกรียงเหล็กขัดมัน ลักษณะเกรียงเหล็กขัดมันจะเป็นสี่เหลี่ยมใช้สำหรับงานขัดมันพื้น หรือขัดมันผนัง การทำงานขัดมันต้องมีความชำนาญในระดับหนึ่งไม่งั้นงานออกมาไม่ดีหรือร้าวภายหลัง
คำอธิบาย: เกรียงเหล็กขัดมัน
4. จอบ และพลั่วจอบจะใช้ผสมปูน ส่วนพลั่วจะใช้ตักหิน และทรายมาใส่ถังผสมปูน นอกจากนี้จอบยังใช้ขุดดิน หรือถางหญ้าได้ด้วยใช้ขุดดินและผสมคลุกเคล้าส่วนผสม ซึ่งได้แก่ ปูน ทราย ให้เข้ากันการเก็บรักษา หลังจากเลิกใช้งานแล้ว ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง เพราะถ้าไม่ล้างให้สะอาดแล้ว ส่วนผสมจะเกาะมากขึ้น ทำให้เครื่องมือชำรุดได้ง่าย ในงานปูนใช้จอบหน้าเหลี่ยมหรือจอบปื้น มีลักษณะเรียบตรงเหมือนจอบที่ใช้ในการเกษตร ใช้สำหรับโกยวัสดุเช่น หิน ทราย ได้เป็นอย่างดี
คำอธิบาย: จอบ และพลั่ว
5. ถังน้ำขนาดเล็ก ถังน้ำขนาดเล็กจะใช้ตักน้ำผสมปูน หรือใช้ตักปูนที่ผสมแล้วมาใช้งาน โดยจะเป็นถังพลาสติกใบเล็กๆที่มีหูหิ้ว
คำอธิบาย: ถังน้ำขนาดเล็ก
6. อ่างผสมปูน หรืออ่างผสมปูน ถังผสมปูน หรืออ่างผสมปูน จะใช้สำหรับผสมปูนในปริมาณที่มากๆ ถังผสมปูนใบใหญ่จะใส่ปูนได้ 1ลูก ราคาของถุงผสมปูนจะตกอยู่ราวๆ ไม่เกินพันบาทถ้าไม่ใช้ผสมปูนก็ใช้ใส่น้ำได้
คำอธิบาย: ถังผสมปูน
7. ลูกดิ่ง เป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้าง ใช้สำหรับหาระดับในแนวดิ่ง เพราะการก่ออิฐต้องได้ดิ่ง ได้ระดับ ดังนั้นดิ่งจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในงานช่างปูนมาก
คำอธิบาย: ลูกดิ่ง
8. วัดระดับน้ำ เป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างหนึ่ง พอๆ กับลูกดิ่ง เพราะระดับน้ำใช้จับระดับในการก่ออิฐในแนวนอน
คำอธิบาย: วัดระดับน้ำ
9. สามเหลี่ยมฉาบปูน หรือสามเหลี่ยมปาดปูน สามเหลี่ยมฉาบปูน หรือสามเหลี่ยมปาดปูนจะใช้ในการฉาบผนังหรือกำแพง ใช้ ใช้สำหรับฉาบปูนในพื้นที่กว้างๆ โดยใช้ในการทำระดับทั้งแนวดิ่งและแนวนอนให้ได้ระดับเรียบเสมอกัน
คำอธิบาย: สามเหลี่ยมฉาบปูน