20 กันยายน 2554

ตัวอย่างข้อสอบสังคม ม.๓ ชัวๆ

สาระสังคมศึกษาฯ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

  1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบันให้ประสบผลสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งใด
ก. ประชาชนผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ รวมกลุ่มกัน
 ข. ชาวพุทธทุกคนร่วมมือกันจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ค. ผู้นำของประเทศต่างๆ นับถือพระพุทธศาสนาและประกาศให้ประชาชนปฏิบัติตาม
ง. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเห็นคุณค่าในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วรวมกลุ่ม

กันจัดตั้งองค์การเพื่อทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
2. สมาคมใดของประเทศอินเดียที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
 ก. สมาคมมหาโพธิ์

ข. สมาคมบาลีปกรณ์
ค. สมาคมพระธรรมทูต

ง. สหพันธ์พระพุทธศาสนา
3. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตองค์ใดไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณดินแดน

ประเทศเนปาล สิกขิม และภูฏาน ในปัจจุบัน
 ก. พระโสณะเถระ

ข. พระอุตตรเถระ
ค. พระมัชฌิมเถระ

ง. พระธรรมรักษ์เถระ
4. ในสมัยโบราณการจะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองนั้นขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้ใดมากที่สุด
ก. สมาคมชาวพุทธ

ข. จำนวนพระสงฆ์
ค. องค์พระมหากษัตริย์

ง. กลุ่มอุบาสก อุบาสิกา
5. ทศพิธราชธรรมเป็นธรรมที่เหมาะกับบุคคลในข้อใดมากที่สุด
ก. นักเรียน

ข. นายทหาร
ค. พ่อค้า – นักธุรกิจ

ง. ผู้ปกครองประเทศ
6. การนำหลัก "อปริหานิยธรรม" ไปประยุกต์ใช้ในการปกครองย่อมเกิดประโยชน์สูงสุดในข้อใด ก. การมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ

ข. การพัฒนาบุคคลให้มีความอดทน
ค. สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่หมู่คณะ

ง. การปกครองดูแลผู้น้อยด้วยความยุติธรรม
 7. กำนันทองคำถูกกรรมการหมู่บ้านทักท้วงในที่ประชุมแต่เขาก็ไม่โกรธ แสดงว่าเขาปฏิบัติตามหลัก ทศพิธราชธรรมในข้อใด
ก. ศีล - อาชชวะ

ข. มัททวะ - ตบะ
ค. ขันติ - อักโกธะ

ง. ทาน - อวิหิงสา
4. บุคคลในครอบครัวจะอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขได้นั้น สมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตนตามหลักธรรมใด
 ก. ทิศ 6

ข. ศีล 5
ค. จักรวรรดิวัตร

ง. อปริหานิยธรรม

8. "พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ร่วมมือกันสร้างโบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป ด้วยศิลปะอันปราณีต" ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาในข้อใด
ก. การสร้างความสงบ

ข. การจัดระเบียบสังคม
ค. การสร้างสรรค์อารยธรรม

ง. การส่งเสริมด้านการปกครอง
9. พระพุทธเจ้าทรงแสดง "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่ผู้ใดเป็นครั้งแรก
ก. พระอานนท์

ข. พระสารีบุตร
ค. เหล่าปัญจวัคคีย์

ง. พระอัญญาโกณฑัญญะ
10. พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่าทางสุดโต่งที่บรรพชิตไม่ควรพึงปฏิบัติคือข้อใดต่อไปนี้
ก. การนั่งสมาธินานเกินไป
ข. การละเลยต่อการปฏิบัติธรรม
ค. การบำเพ็ญเพียรในระยะเวลาที่ยาวนาน
ง. การหมกมุ่นในกามและการทรมานตนให้ลำบาก
11. จากแนวคิดที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบเรื่องมนุษย์กับดอกบัว 3 เหล่านั้น สอดคล้องกับข้อความใดต่อไปนี้
ก. คนทุกคนเกิดมามีความแตกต่างกัน
ข. การแก้ปัญหาของมนุษย์ต้องเป็นไปตามขั้นตอน
ค. ทางสายกลางคือความพอดีสำหรับการปฏิบัติธรรม
ง. สัตวโลกมีสติปัญญาที่จะเข้าใจในพระธรรมแตกต่างกัน
12. พระพุทธเจ้าทรงมุ่งมั่นที่จะไปสั่งสอนธรรมแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ด้วยเหตุผลข้อใด
ก. ทรงต้องการยกย่องปัญจวัคคีย์
ข. ทรงต้องการประกาศพระพุทธศาสนา
ค. ทรงต้องการให้ปัญจวัคคีย์ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ง. ทรงต้องการสักขีพยานแห่งการตรัสรู้ และแก้ไขความเข้าใจผิดของปัญจวัคคีย์
13. "แผนที่" มีความหมายสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. แผ่นภาพสมมติที่เขียนขึ้นแทนพื้นแผ่นดิน
ข. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนของจริงที่ปรากฏบนพื้นโลก
ค. อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงลักษณะสัณฐานของโลก
ง. วัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ทำเส้นทางคมนาคม
14. แผนที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบถึงสิ่งใด
ก. สภาพภูมิประเทศ
ข. สภาพดินฟ้าอากาศ
ค. ที่ตั้งของประเทศต่างๆ
ง. สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

15. แผนที่โดยทั่วไปผู้คนมักใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
 ก. ศึกษาพื้นที่โลก

ข. ฝึกทักษะการจำ
ค. คำนวณหาเวลา

ง. หาตำแหน่งที่ตั้ง
16. บุคคลใดต่อไปนี้น่าจะใช้แผนที่ในการประกอบอาชีพมากที่สุด
 ก. เอกชัย วิศวกรสำรวจเส้นทาง
ข. ศิวะ นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ
ค. ร้อยตำรวจเอกวันชัย นายตำรวจนอกเครื่องแบบ
ง. นายแพทย์วิชัย ศัลยแพทย์โรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง
17. นักท่องเที่ยวมักมีแผนที่เป็นคู่มือ เพราะเหตุใด
ก. ใช้ตรวจสอบเส้นทาง

ข. ใช้แทนหนังสือเดินทาง
ค. ใช้เป็นข้อมูลในการซื้อสินค้า

ง. ใช้ค้นหาข้อมูลลับของสถานที่นั้นๆ
18. ข้อใดกล่าวถึงประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง

ก การศึกษากำเนิดโลก

ข การศึกษาความเป็นมาของไดโนเสาร์

ค. การศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์

ง การศึกษาความเป็นมาของเทือกเขา

19. สิ่งใดเป็นองค์ประกอบสำคัญของประวัติศาสตร์

ก. เวลา

ข ตำนาน

ค หลักฐาน

ง พงศาวดาร

20. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางพฤติกรรม ความคิด และความเชื่อของสังคมมนุษย์

คืออะไร

ก. เวลาและสถานที่

ข สถานการณ์

ค เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง

ง ไม่มีข้อใดถูก

21. การทำความเข้าใจและอธิบายเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ได้อย่างถูกต้องในมิติของเวลา

และสถานที่ ข้อความนี้หมายถึงสิ่งใด

ก คุณค่าทางประวัติศาสตร์

ข ช่วงเวลาของประวัติศาสตร์

ค วิธีการทางประวัติศาสตร์

ง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

22. แผ่นโลหะจัดเป็นหลักฐานประเภทใด

ก. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

ข หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ค หลักฐานที่เป็นเอกสาร

ง หลักฐานที่เป็นตำนาน

23. ปัจจัยใดที่ทำให้ทวีปยุโรปไม่มีภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ก. ละติจูด

ข. กระแสน้ำ ค. ลมประจำ

ง. ความใกล้ไกลทะเล 2. เทือกเขาใดอยู่ในทวีปยุโรป ก. หิมาลัย

ข. ร็อคกี ค. แอนดีส

ง. คาร์ปาเทียนส ์
24. ชนชาติใดที่เป็นผู้วางรากฐานความเจริญให้แก่ทวีปยุโรปจนถึงปัจจุบัน
ก. กรีก – โรมัน

ข. อียิปต์ – กรีก
 ค. ฟินิเชียน – อัสซีเรีย

ง. อัสซีเรีย – สุเมเรียน
25. เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในช่วงยุโรปสมัยใหม่
ก. เกิดชนชั้นกระฎุมพี
ข. จักรวรรดิโรมันล่มสลาย
ค. เกิดยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ง. การสำรวจทางทะเลและการแสวงหาอาณานิคม
26. เหตุการณ์ใดที่ทำให้ประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ถูกลดบทบาทความเป็นมหาอำนาจ

ก. สงครามนโปเลียน

ข. สงครามโลกครั้งที่ 2
ค. การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ง. การรวมประเทศเยอรมนี
27. "กลไกตลาด" จะสอดคล้องกับข้อใด

ก. ผลิตอะไร ผลิตเท่าใด ผลิตเมื่อใด

ข. ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเมื่อใด

ค. ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเท่าใด

ง. ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร

28. ข้อความใดเป็นไปตามกฎของอุปสงค์

ก. ถ้าเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นราคาสูงขึ้น จำนวนผู้บริโภคจะมากขึ้น

ข. ถ้าเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นมีราคาลดต่ำลง จำนวนผู้บริโภคจะลดน้อยลง

ค. ถ้าเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นมีราคาลดต่ำลง ผู้บริโภคจะซื้อเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นมากขึ้น

ง. ถ้าเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อเครื่องดื่มน้ำส้มคั้นมากขึ้น

29. ปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าใดๆ มักมีความสัมพันธ์กับราคาของสินค้านั้นในลักษณะใด

ก. ทางตรงกันข้าม

ข. ทิศทางเดียวกัน

ค. ทางใกล้เคียงกัน

ง. แปรปรวนตามปัจจัยเสี่ยง

30. ปีนี้ราคายางพาราต่อกิโลกรัมมีราคาสูง คาดได้ว่าจะมีพฤติกรรมใดเกิดขึ้น

ก. ชาวสวนยางพาราปลูกยางพาราลดลง

ข. ชาวสวนยางพาราปลูกยางพารามากขึ้น

ค. ผู้ซื้อยางพารารวมตัวกันกดราคายางให้ต่ำ

ง. ชาวสวนยางพาราปลูกยางพาราในจำนวนพื้นที่เท่าเดิม

31. ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ จะมีผลในข้อใด

ก. ราคาสินค้าจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่แน่นอน

ข. ราคาสินค้าจะตรึงอยู่ในระดับเดิม

ค. ราคาสินค้ามีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น

ง. ราคาสินค้ามีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง



32. ในปีนี้เจ้าของสวนลำไยได้ผลผลิตลำไยมากกว่าทุกปี ผู้ซื้อลำไยมีความต้องการลำไยเท่าเดิม ผลที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะในข้อใด

ก. ราคาลำไยถูกลง

ข. ราคาลำไยคงเดิม

ค. ราคาลำไยแพงขึ้น

ง. ราคาลำไยแพงขึ้นมากกว่าเดิม

33. เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากัน ราคาสินค้าจะมีลักษณะเช่นใด

ก. ราคาสินค้าถูกลง

ข. ราคาสินค้าแพงขึ้น

ค. ราคาสินค้าจะอยู่นิ่ง

ง. ราคาสินค้าปรวนแปรไม่แน่นอน

34. "ราคาดุลยภาพ" หมายความว่าอย่างไร

ก. ระดับราคาสินค้าที่อยู่ในระดับทั่วไป

ข. ระดับราคาสินค้าที่ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน

ค. ระดับราคาสินค้าที่ปริมาณอุปสงค์น้อยกว่าปริมาณอุปทาน

ง. ระดับราคาสินค้าที่ปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน

35. ระดับปริมาณสินค้า ณ ระดับราคาดุลยภาพเรียกว่าอะไร

ก. สมดุล

ข. ดุลยภาพ

ค. กลไกราคา

ง. ปริมาณดุลยภาพ

36. ข้อใดจัดเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้

ก. ชา กับ กาแฟ

ข. ดินสอ กับ ยางลบ

ค. ปากกา กับ น้ำหมึก

ง. ปูนซีเมนต์ กับ ทราย

37. ในการบริโภคนั้นถ้าราคาสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ปริมาณอุปสงค์ของสินค้านั้นย่อมมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้สินค้าที่ใช้ประกอบกันมีลักษณะอย่างไร

ก. ปริมาณอุปสงค์คงที่

ข. ปริมาณอุปสงค์ต่ำลง

ค. ปริมาณอุปสงค์เพิ่มขึ้น

ง. ปริมาณอุปสงค์ปรวนแปร
   38. ข้อใดจัดอยู่ในกฎหมายประเภทเดียวกัน
ก. กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่ง
ข. กฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา
ค. กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ง. กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
39. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับเด็ก ได้แก่สิทธิในข้อใด
ก. มีชีวิต ได้รับการบริการด้านการศึกษา รับปัจจัยสี่
ข. มีชีวิตอยู่รอด ได้รับการปกป้องคุ้มครอง รับปัจจัยสี่
ค. ได้รับความอบอุ่นทางกาย ทางใจ รับปัจจัยสี่ รับการพัฒนา
ง. มีชีวิตอยู่รอด ได้รับการพัฒนาส่งเสริม ได้รับการปกป้องคุ้มครอง มีส่วนร่วม

40. ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลาใดของทุกๆ ปี ก. ๓๑ มีนาคม ข. ๓๑ ตุลาคม ค. ๓๑ มกราคม ง. ๓๑ ธันวาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น